AcAir Team
Line AirCMU
Air Quality by cmu logo
Air Quality by cmu logo
or
Air Quality by cmu logo
CMU Model
Slide
PlayPause
previous arrow
next arrow
Shadow

Line @aircmu

การสื่อสารสาธารณประโยชน์

หลักสูตร

การจัดการมลพิษทางอากาศสำหรับภาคเหนือ

สถานการณ์ฝุ่น PM2.5

by Low-Cost Sensor

ต้นกล้าท้าหมอกควัน

โครงการค่ายเยาวชน

CMU Model

พื้นที่ต้นแบบแก้ไขปัญหา PM2.5 ที่ต้นเหตุ

นวัตกรรมป้องกันฝุ่น

PM2.5

มช.

ครองอันดับ

1

ของประเทศไทย 3 ปีซ้อน

ด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิภากาศ SDG 13 Climate Action


เป็นมหาวิทยาลัยอันดับที่ 75 ของโลก
จากสถาบันอุดมศึกษาทั่วโลกทั้งสิ้น 2,152 แห่ง

เป็นมหาวิทยาลัยอันดับที่ 3 ของประเทศไทย

จากผลการจัดอันดับมหาวิทยาลัยระดับโลกที่สร้างผลกระทบสูงต่อสังคม 
จัดอันดับโดย The Times Higher Education University Impact Rankings 2024
เกณฑ์การประเมินตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนแห่งสหประชาชาติ หรือ United Nations (UN)’s

news & event



ข่าวสารล่าสุด จาก Facebook Page

📢ประชาสัมพันธ์ ทางสภาลมหายใจเชียงใหม่ ร่วมกับกองทุนพัฒนาสุขภาวะจังหวัดเชียงใหม่ที่ยั่งยืน 👉🏻 ขอเชิญชาวเชียงใหม่ร่วมขับเคลื่อนวาระเชียงใหม่ : วาระแก้ไขปัญหาฝุ่นควันเชียงใหม่ 🗓️ในวันที่ 30 กรกฎาคม 2567 🕤เวลา 13.00-16.30 น. 📍ณ จริงใจ มาร์เก็ต จ.เชียงใหม่ 🚩Location https://maps.app.goo.gl/Rj5T2pu1V 🚩รับชม Facebook Live ที่ @วาระเชียงใหม่ https://shorturl.at/auMX1 👉🏻ลงทะเบียนเข้าร่วมฟรี!!! https://forms.gle/rTHJtT7oLYinbLqJ7

ร่วมรับฟัง เวทีเสวนา “ความหวังประเทศไทย ทางออกแก้ฝุ่น: พระราชบัญญัติบริหารจัดการเพื่ออากาศสะอาด พ.ศ.... และการมีส่วนร่วมทุกภาคส่วน” วันอังคาร ที่ 23 กรกฎาคม 2567 เวลา 08.30-12.30 น. ณ โรงแรมเชียงใหม่แกรนด์วิว จังหวัดเชียงใหม่ . พบกับผู้เข้าร่วมเสวนา - คุณจักรพล ตั้งสุทธิธรรม ประธานคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพรบ.บริหารจัดการเพื่ออากาศสะอาด พ.ศ. ... - คุณทศพล เผื่อนอุดม รองผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ - คุณสุรีรัตน์ ตรีมรรคา รองประธานกรรมการอำนวยการสภาลมหายใจเชียงใหม่ - คุณกานต์ รามอินทรา Integrated Team Leader, UNDP ประเทศไทย - คุณณัฐพงศ์ โพธิ์วัฒนะชัย นักบริหารแผนงานชำนาญการ สสส. - ดร.บัณฑูร เศรษฐศิโรตม์ คณะกรรมการแก้ไขปัญหามลพิษทางอากาศอย่างยั่งยืน/กรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพรบ.บริหารจัดการ เพื่ออากาศสะอาด พ.ศ. ... ดำเนินรายการโดย - คุณบัณรส บัวคลี่ เครือข่ายสภาลมหายใจภาคเหนือ #AcAirCMU #คณะทำงานด้านวิชาการเพื่อสนับสนุนการแก้ไขปัญหาหมอกควันภาคเหนือ #ศูนย์วิชาการเพื่อสนับสนุนการแก้ไขปัญหาหมอกควันภาคเหนือ #มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ #สสส. #UNDP #สมาคมเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนภาคเหนือ #สถาบันธรรมรัฐเพื่อการพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อม #สภาลมหายใจ

That’s my life, life, baby, I’m a 🌟ACAIR STAR🌟 รวมตัวตึงอาจารย์ผู้เชี่ยวชาญด้านมลพิษทางอากาศ ทำถึงทุกฤดูกาลหมอกควัน🔥 by Admin ฟ้าใส #AcAirCMU #คณะทำงานด้านวิชาการเพื่อสนับสนุนการแก้ไขปัญหาหมอกควันภาคเหนือ #ศูนย์วิชาการเพื่อสนับสนุนการแก้ไขปัญหาหมอกควันภาคเหนือ #มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ #Rockstar

ติดตามสถานการณ์ฝุ่นควันข้ามแดน ในภาคใต้ เริ่มมีผลกระทบแล้วในบางพื้นที่

📣 ประชาสัมพันธ์โครงการ 🌏 “ลดเปลี่ยนโลกกับโตโยต้า ปีที่ 2 - Carbon Neutral Society” 🌿 👉ขอเชิญชวนน้องๆนักเรียน นักศึกษาในระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย (สายสามัญ) และระดับอาชีวศึกษา (สายอาชีพ) มาประกวดนวัตกรรมระดับเยาวชนจากการคิดค้น สร้างสรรค์ และพัฒนาผลงานนนวัตกรรมนาโนเทคโนโลยีด้านลิ่งแวดล้อมเพื่อช่วยลดคาร์บอน (Carbon Neutrality 2050) . โดยความร่วมมือระหว่าง บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด สถาบันสิ่งแวดล้อมไทย หรือ TEI และศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ (นาโนเทค) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ซึ่งเป็นการประกวดนวัตกรรมเยาวชนด้านสิ่งแวดล้อมเพื่อช่วยลดคาร์บอน (Carbon neutrality 2050) โดยสามารถต่อยอดเป็นผลงานต้นแบบสู่การใช้ประโยชน์ และต่อยอดเป็นศูนย์การเรียนรู้ในชุมชน ได้อย่างมีประสิทธิภาพ . เปิดรับสมัครแล้วตั้งแต่วันนี้ – 30 มิถุนายน 2567 📍ลงทะเบียนสมัครเข้าร่วมโครงการตามภูมิภาคของตนเอง ได้ที่ https://www.lodplienlokproject.com หรือสแกน QR Code ดังแนบในโปสเตอร์นี้👇 . ℹ️ สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม : งานพัฒนาธุรกิจเชิงสังคม ศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ (นาโนเทค) สวทช. 02 564 7100 ต่อ 6610 (นริศา), 6680 (ดร.ปิยะวรรณ) Email : bitt-sbd@nanotec.or.th #ลดเปลี่ยนโลก #สวทช #TEI #Toyota

มช. อันดับที่ 75 ของโลก ครองอันดับที่ 1 ของประเทศ 4 ปีซ้อนด้าน SDG 13 Climate Action เมื่อวันที่ 12 มิถุนายน 2567 The Times Higher Education University Impact Rankings 2024 ประกาศผลการจัดอันดับมหาวิทยาลัยระดับโลกที่สร้างผลกระทบสูงต่อสังคมมีสถาบันอุดมศึกษาทั่วโลกเข้าร่วมการจัดอันดับทั้งสิ้น 2,152 แห่ง จาก 125 ประเทศ ทั้งนี้การจัดอันดับดังกล่าวใช้เกณฑ์การประเมินมหาวิทยาลัยตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนแห่งสหประชาชาติ หรือ United Nations (UN)’s ในปีนี้ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้รับการจัดอันดับที่ 75 ของโลก และเป็นอันดับที่ 3 ของประเทศไทย ทั้งนี้ด้าน SDG 13 Climate Action: การดำเนินการอย่างเร่งด่วนเพื่อแก้ปัญหาโลกร้อน ครองอันดับที่ 1 ของไทย 3 ปีติดต่อกัน เป็นอันดับที่ 101-200 ของโลก ทั้งนี้มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้รับการจัดอันดับจากรายการอื่นๆอีกมายมาย โดยในแผนพัฒนาการศึกษามหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ระยะที่ 13 มหาวิทยาลัยเชียงใหม่มีวิสัยทัศน์เป็น “มหาวิทยาลัยชั้นนำที่รับผิดชอบต่อสังคมและการพัฒนาที่ยั่งยืน ด้วยนวัตกรรม (A Leading University Committed to Social Responsibility for Sustainable Development through Innovation)” มีเป้าหมายวิสัยทัศน์ไปสู่การจัดอันดับมหาวิทยาลัยโลกตามแนวทางของ THE University Impact Rankings อยู่ใน 50 อันดับแรกของโลก และมหาวิทยาลัยได้มุ่งสู่การพัฒนาที่ยั่งยืนด้วย SDGs สนับสนุนการศึกษารูปแบบใหม่ ผลักดันการนำเทคโนโลยี มาพัฒนาการดำเนินงานต่าง ๆ เพื่อเป็นมหาวิทยาลัยแห่งนวัตกรรมต้นแบบเพื่อชุมชน และร่วมพัฒนาสังคมอย่างยั่งยืน อ่านข้อมูลเพิ่มเติม ขอบคุณข้อมูลจาก : https://ora.oou.cmu.ac.th/cmu-uir2024/?fbclid=IwZXh0bgNhZW0CMTAAAR1uB7QJCnXxqWuPYmXiUIOgQgNbtyTQ2akGUDNOSWX6AmvBSMba-txM9ww_aem_ZmFrZWR1bW15MTZieXRlcw

🔹ภาพบรรยากาศงานวันชาติสหรัฐอเมริกา ฉลองครบรอบ 248 ปี แห่งการประกาศอิสรภาพ (The 248 Anniversary of the Independence of the United State of America)🔹 เมื่อวันที่ 13 มิถุนายน 2567 ที่ผ่านมา คณะทำงานด้านวิชาการเพื่อสนับสนุนการแก้ไขปัญหาหมอกควันภาคเหนือ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ นำโดย รองศาสตราจารย์ ดร.สมพร จันทระ ประธานคณะทำงานฯ รองศาสตราจารย์ ดร.เศรษฐ์ สัมภัตตะกุล ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ชาคริต โชติอมรศักดิ์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ว่าน วิริยา และอาจารย์ ดร.ณัตติพร ยะบึง เข้าร่วมงานวันชาติสหรัฐอเมริกา ฉลองครบรอบ 248 ปี แห่งการประกาศอิสรภาพ (The 248 Anniversary of the Independence of the United State of America) ณ นิมมาน คอนเวนชั่น เซ็นเตอร์ โรงแรมยูนิมมาน จังหวัดเชียงใหม่ โดยมีคุณโรเบิร์ต เอฟ. โกเดค เอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกาประจำประเทศไทย และคุณลิสา เอ. บูเจนนาส กงสุลใหญ่สหรัฐอเมริกาประจำเชียงใหม่ กล่าวให้การต้อนรับ คณะทำงานฯ ดำเนินโครงการ “Building Air Quality Monitoring Capacity in Southeast Asia: AQSEA” ร่วมกับ Research Triangle Institute (RTI International) โดยได้รับการสนับสนุนงบประมาณจาก Department of State (DOS) ประเทศสหรัฐอเมริกา เพื่อให้ความรู้ให้แก่ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย และสร้างการรับรู้และเผยแพร่ต่อสาธารณะ รวมถึงการเพิ่มขีดความสามารถของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในระดับภูมิภาคในประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (SEA) #AcAirข่าว #AcAirข่าว2567 #AcAirCMU #คณะทำงานด้านวิชาการเพื่อสนับสนุนการแก้ไขปัญหาหมอกควันภาคเหนือ #ศูนย์วิชาการเพื่อสนับสนุนการแก้ไขปัญหาหมอกควันภาคเหนือ #มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ #ESRC

ภาพบรรยายในช่วงเวทีเสวนา หัวข้อ Climate Crisis and University Engagement: Case Study on PM2.5 โดย ผู้แทนจากมหาวิทยาลัยในภูมิภาค ภายในงานการประชุมวิชาการระดับชาติ Engagement Thailand ครั้งที่ 9 (The 9th Engagement Thailand Annual Conference 2024 Driving Society Engagement Innovation toward Sustainability) ในวันที่ 6 มิถุนายน 2567 เวลา 13.30 น.เป็นต้นไป โดยในเวทีเสวนาดังกล่าว มีผู้แทนจากมหาวิทยาลัยในภูมิภาค ซึ่งเข้าร่วมเป็นวิทยากรดังต่อไปนี้ • มหาวิทยาลัยเชียงใหม่(ภาคเหนือ) โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ชาคริต โชติอมรศักดิ์ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ • มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (ภาคกลาง) โดย รองศาสตราจารย์ ดร.วิษณุ อรรถวานิช คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ • มหาวิทยาลัยมหาสารคาม (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ) โดย อาจารย์ ดร.ธายุกร พระบำรุง คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม • มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (ภาคใต้) โดย ศาสตราจารย์ ดร.พีระพงศ์ ทีฆสกุล คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ผู้ดำเนินรายการ : รองศาสตราจารย์ ดร.สมพร จันทระ หัวหน้าศูนย์วิจัยวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม คณะวิทยาศาสตร์ และ ประธานคณะทำงานด้านวิชาการเพื่อสนับสนุนการแก้ไขปัญหาหมอกควัน ภาคเหนือ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ พร้อมทั้งการเข้าร่วมจัดนิทรรศการผลงานวิจัยและนวัตกรรมคณะทำงานด้านวิชาการเพื่อสนับสนุนการแก้ไขปัญหาหมอกควัน #AcAirศึกษาดูงาน #AcAirศึกษาดูงาน2567 #คณะทำงานด้านวิชาการเพื่อสนับสนุนการแก้ไขปัญหาหมอกควันภาคเหนือ #AcAirCMU #คณะทำงานด้านวิชาการเพื่อสนับสนุนการแก้ไขปัญหาหมอกควันภาคเหนือ #ศูนย์วิชาการเพื่อสนับสนุนการแก้ไขปัญหาหมอกควันภาคเหนือ #มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ Chiang Mai University Environmental Science Research Center #ESRC

คณะทำงานด้านวิชาการเพื่อสนับสนุนการแก้ไขปัญหาหมอกควันภาคเหนือ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และศูนย์วิจัยวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ Environmental Science Research Center #ESRC ให้การต้อนรับการมาเยือนและศึกษาดูงาน University of Queensland : MEKONG-AUSTRALIA PARTNERSHIP REGIONAL DIALOGUE: COOPERATION FOR CLEAN AIR IN THE MEKONG SUBREGION ในโครงการทัศนศึกษา Fieldtrip Program Air Pollution Research and Innovation: Monitoring, Analysis and Prevention เมื่อวันที่ 30 พฤษภาคม 2567 เวลา 13.00 น. เป็นต้นไปคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ คณะทำงานด้านวิชาการเพื่อสนับสนุนการแก้ไขปัญหาหมอกควันภาคเหนือ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ นำโดย รองศาสตราจารย์.ดร. สมพร จันทระ ประธานคณะทำงานฯ พร้อมทั้งคณะทำงานฯ ให้การต้อนรับการมาเยือนและศึกษาดูงาน University of Queensland : MEKONG-AUSTRALIA PARTNERSHIP REGIONAL DIALOGUE: COOPERATION FOR CLEAN AIR IN THE MEKONG SUBREGION พร้อมทั้ง คณะทำงานฯเป็นวิทยากรในงานดังกล่าว ประกอบด้วย Participants will be divided into 3 groups for the following activities: 1) Air quality monitoring station (โดย รองศาสตราจารย์.ดร. สมพร จันทระ ประธานคณะทำงานฯ และหัวหน้าศูนย์วิจัยวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่) - Sampling of PM2.5 and size-fractionated PM 2) Analysis of air pollution (โดย อาจารย์ ดร. ณัตติพร ยะบึง) - Analysis of volatile organic compounds (VOCs) by gas chromatography – mass spectrometry (GC-MS) - Analysis of carbon composition of PM samples by Carbon Analyzer 3) Innovation for monitoring and preventing air pollution (โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ว่าน วิริยา คณะทำงานฯ) - Low-cost sensors - DIY Air Purifier - Masks for Preventing PM2.5 และการศึกษาดูงานเยี่ยมชมผลงานวิจัยและนวัตกรรมคณะทำงานด้านวิชาการเพื่อสนับสนุนการแก้ไขปัญหาหมอกควัน พร้อมทั้งเยี่ยมชมสถานีตรวจวัดคุณภาพอากาศ ตลอดจนการเยี่ยมชมห้องปฏิบัติการวิจัย ของศูนย์วิจัยวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ #AcAirศึกษาดูงาน #AcAirศึกษาดูงาน2567 #คณะทำงานด้านวิชาการเพื่อสนับสนุนการแก้ไขปัญหาหมอกควันภาคเหนือ #AcAirCMU #คณะทำงานด้านวิชาการเพื่อสนับสนุนการแก้ไขปัญหาหมอกควันภาคเหนือ #ศูนย์วิชาการเพื่อสนับสนุนการแก้ไขปัญหาหมอกควันภาคเหนือ #มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ Chiang Mai University Environmental Science Research Center #ESRC

สาระองค์ความรู้🧐 🔸โครงการ “Building Air Quality Monitoring Capacity in Southeast Asia” (AQSEA) การสร้างขีดความสามารถในการตรวจติดตามคุณภาพอากาศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ 🔹โดย รองศาสตราจารย์ ดร. สมพร จันทระ และคณะฯ ซึ่งได้รับทุนจาก United Department of State (DOS) ประเทศสหรัฐอเมริกา - What is PM ? - Air Pollution in Southeast Asia - Major Sources of Air Pollution in Southeast Asia - Impacts of Air Pollution on Health - Actionable Steps to Reduce Exposure to Air Pollution อ่านเพิ่มเติมได้ที่ https://online.anyflip.com/qrtrt/itqd/mobile/index.html สามารถรับชมเว็บไซต์ เกี่ยวกับโครงการ AQSEA ได้ที่ https://acair.cmu.ac.th/aqsea/ #คณะทำงานด้านวิชาการเพื่อสนับสนุนการแก้ไขปัญหาหมอกควันภาคเหนือ #AcAirCMU #คณะทำงานด้านวิชาการเพื่อสนับสนุนการแก้ไขปัญหาหมอกควันภาคเหนือ #ศูนย์วิชาการเพื่อสนับสนุนการแก้ไขปัญหาหมอกควันภาคเหนือ #มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ Chiang Mai University #AQSEA

วิดีโอเผยแพร่องค์ความรู้ ✨ 🔸โครงการ “Building Air Quality Monitoring Capacity in Southeast Asia” (AQSEA) การสร้างขีดความสามารถในการตรวจติดตามคุณภาพอากาศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ 🔹โดย รองศาสตราจารย์ ดร. สมพร จันทระ และคณะฯ ซึ่งได้รับทุนจาก United Department of State (DOS) ประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งเป็น VDO Part 2 ของโครงการ AQSEA โดย 📸สามารถรับชมได้แล้วผ่านทาง Youtube Channel: AcAirCMU VDO 1 : https://youtu.be/kwJxU5DLjI8?si=VaqjyLy7xFByHBBr VDO 2 : https://youtu.be/dE3ReFM66rk?si=RgMhLi4PRDZKgedN #คณะทำงานด้านวิชาการเพื่อสนับสนุนการแก้ไขปัญหาหมอกควันภาคเหนือ #AcAirCMU #คณะทำงานด้านวิชาการเพื่อสนับสนุนการแก้ไขปัญหาหมอกควันภาคเหนือ #ศูนย์วิชาการเพื่อสนับสนุนการแก้ไขปัญหาหมอกควันภาคเหนือ #มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ Chiang Mai University #AQSEA

แม้ว่าฝุ่นควัน-ไฟป่าใน 8 จังหวัดภาคเหนือ จะคลี่คลายตามวัฏจักร แต่มาตรการ "ป้องกัน" ยังมีความจำเป็นต้องวางแผนล่วงหน้า . กรรมการสิทธิ์ฯ เสนอรัฐบาล ต้องสั่งให้หน่วยงานรัฐดำเนินการโดยเร่งด่วน เพราะการดูแลสุขภาพประชาชนเป็นการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชน . สิ่งสำคัญ รัฐบาลต้องกระจายอำนาจและงบประมาณให้ท้องถิ่นดำเนินการ เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพและความคล่องตัวแก้ปัญหา เพราะที่ผ่านมา พิสูจน์แล้วว่าโครงการสร้างแบบเดิม ๆ ไม่อาจแก้ปัญหาได้ . อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม👇 https://policywatch.thaipbs.or.th/article/environment-34

MDRI LIFELONG EP2 : "รับมือโลกร้อนและฝุ่น PM2.5" โดย รศ.ดร.เศรษฐ์ สัมภัตตะกุล หัวหน้าหน่วยวิจัยเพื่อการจัดการพลังงานและเศรษฐนิเวศ สถาบันวิจัยพหุศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และรักษาการแทนผู้อำนวยการสำนักบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

🔹ภาพบรรยากาศการร่วมจัดบูธนิทรรศการแสดงผลงานวิจัยและนวัตกรรม🔹 ภายในการประชุมติดตามความก้าวหน้าแผนงานการนำ ววน. ไปใช้แก้ปัญหาวิกฤติฝุ่นละออง PM2.5 ร่วมกับ คณะกรรมการกำกับติดตามแผนงาน (Steering Committee) ในวันอาทิตย์ ที่ 19 พฤษภาคม 2567 ที่ผ่านมา ณ ห้องประชุมราชพฤกษ์ อาคารนิทรรศการ 1 อุทยานหลวงราชพฤกษ์ คณะทำงานด้านวิชาการเพื่อสนับสนุนการแก้ไขปัญหาหมอกควันภาคเหนือ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ นำโดย รองศาสตราจารย์ ดร.สมพร จันทระ ,ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ชาคริต โชติอมรศักดิ์ และคณะทำงานฯ ร่วมจัดนิทรรศการแสดงผลงานวิจัย 👉แผนงานการประเมินแหล่งกำเนิดและกลไกการเกิดฝุ่น PM2.5 ทุติยภูมิ ในภาคเหนือของประเทศไทย (อ่านบทความวิจัยเพิ่มเติมได้ที่ >> https://doi.org/10.1016/j.atmosenv.2024.120517) 👉การจำลองสถานการณ์ควบคุมแหล่งกำเนิดฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM2.5 เพื่อประเมินมาตรการการจัดการของจังหวัดเชียงใหม่ 👉และนวัตกรรมอื่นๆของคณะทำงานฯ ภายในการประชุมติดตามความก้าวหน้าแผนงานการนำ ววน. ไปใช้แก้ปัญหาวิกฤติฝุ่นละออง PM2.5 ร่วมกับ คณะกรรมการกำกับติดตามแผนงาน (Steering Committee) โดยมีผู้เข้าร่วมประชุม ได้แก่ นายนิรัตน์ พงษ์สิทธิถาวร ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่, นายทศพล เผื่อนอุดม รองผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่, ศ.ดร.นพ.พงษ์รักษ์ ศรีบัณฑิตมงคล อธิการบดีมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ คณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม (กสว.), ผู้แทนหน่วยงานระดับจังหวัด, คณะกรรมการกำกับติดตามแผนงานการนำ ววน,. ไปให้แก้ไขปัญหาหวิกฤติฝุ่นละออง PM2.5 (Steering Committee), ผู้บริหาร และเจ้าหน้าที่ สกสว., ผู้บริหาร ผู้ทรงคุณวุฒิ และเจ้าหน้าที่สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.), ผู้บริหาร ผู้ทรงคุณวุฒิ และเจ้าหน้าที่สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (สวก.) และผู้บริหารหน่วยงานอื่นๆในระบบ ววน. #AcAirนิทรรศการ #AcAirนิทรรศการ2567

วิดีโอเผยแพร่องค์ความรู้ ✨ 🔸โครงการ “Building Air Quality Monitoring Capacity in Southeast Asia” (AQSEA) การสร้างขีดความสามารถในการตรวจติดตามคุณภาพอากาศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ 🔹โดย รองศาสตราจารย์ ดร. สมพร จันทระ และคณะฯ ซึ่งได้รับทุนจาก United Department of State (DOS) ประเทศสหรัฐอเมริกา 📸สามารถรับชมได้แล้วผ่านทาง Youtube Channel: AcAirCMU VDO 1 : https://youtu.be/kwJxU5DLjI8?si=VaqjyLy7xFByHBBr VDO 2 : https://youtu.be/dE3ReFM66rk?si=RgMhLi4PRDZKgedN #คณะทำงานด้านวิชาการเพื่อสนับสนุนการแก้ไขปัญหาหมอกควันภาคเหนือ #AcAirCMU #คณะทำงานด้านวิชาการเพื่อสนับสนุนการแก้ไขปัญหาหมอกควันภาคเหนือ #ศูนย์วิชาการเพื่อสนับสนุนการแก้ไขปัญหาหมอกควันภาคเหนือ #มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ Chiang Mai University #AQSEA

🌱วีดีโอ Highlight ค่ายเยาวชนต้นกล้าท้าหมอกควัน : Smogathon ปีที่ 7 ประจำปี 2567 เนื่องในโอกาสเฉลิมฉลองครบรอบ 60 ปี แห่งการสถาปนามหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ที่จัดขึ้นเมื่อวันที่ 29 เมษายน - 1 พฤษภาคม 2567 ที่ผ่านมานี้🌱 ✋ขอขอบพระคุณ รองศาสตราจารย์ ดร.เกศรินทร์ พิมรักษา รองคณบดีฝ่ายวิจัยและวิเทศสัมพันธ์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, รองศาสตราจารย์ ดร.สมพร จันทระ หัวหน้าศูนย์วิจัยวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม และประธานคณะทำงานด้านวิชาการเพื่อสนับสนุนการแก้ไขปัญหาหมอกควันภาคเหนือ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, ที่ให้เกียรติมากล่าวเปิดพิธีอย่างเป็นทางการ ✋ขอขอบพระคุณ ดร.สุกฤษฎิ์ เกิดแสง ผู้อำนวยการศูนย์อุตุนิยมวิทยาภาคเหนือ, คุณบัณรส บัวคลี่ สภาลมหายใจภาคเหนือภาคเหนือ, ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ภาสกร แช่มประเสริฐ ภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และคณะทำงานฯ, ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ชาคริต โชติอมรศักดิ์ หัวหน้าศูนย์ภูมิภาคเพื่อการศึกษาด้านภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม ที่ให้เกียรติเข้าร่วมพิธีเปิดและร่วมเป็นวิทยากรบรรยายในเวทีพูดคุยในหัวข้อ "WHAT WE DO? : บทบาทหน้าที่ของหน่วยงานในการส่งเสริมเยาวชน และประชาชนทั่วไปในการแก้ไขปัญหาหมอกควัน PM2.5 และ คุณจารุณี สุนทรนาค Adaptive Communication ที่มาแนะนำการพูดในที่สาธารณะและสร้างแรงบรรดาลใจในการ Pitching ✋ขอขอบพระคุณ คุณลิสา เอ บูเจนนาส กงสุลใหญ่สหรัฐอเมริกา เชียงใหม่, รองศาสตราจารย์ ดร.เศรษฐ์ สัมภัตตะกุล หัวหน้าหน่วยวิจัยเพื่อการจัดการพลังงานและเศรษฐนิเวศ สถาบันวิจัยพหุศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (3E), คุณบัณรส บัวคลี่สภาลมหายใจภาคเหนือ, คุณสรกฤช เตชปภาวิชญ์ Project Sale Engineering บริษัท อินโนเวทีฟ อินสทรูเมนต์ จำกัด และคุณคุณอักษรศิริ ต้อยปาน Locals Project Leader กรรมการทั้ง 6 ท่านที่ร่วมเป็นกรรมการตัดสินไอเดีย ✋ทั้งนี้ทั้งนั้น ต้องขอขอบพระคุณกงสุลใหญ่สหรัฐอเมริกา เชียงใหม่, หน่วยวิจัยเพื่อการจัดการพลังงานและเศรษฐนิเวศ สถาบันวิจัยพหุศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, ศูนย์ภูมิภาคเพื่อการศึกษาด้านภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, สภาลมหายใจภาคเหนือ, บริษัท อินโนเวทีฟ อินสทรูเมนต์ จำกัด, สิงห์อาสา, องศาเหนือ และ Locals ThaiPBS ที่ร่วมให้การสนับสนุนการดำเนินกิจกรรมภายในค่ายเยาวชนต้นกล้าท้าหมอกควัน : Smogathon ปีที่ 7 ประจำปี 2567 นี้ #ต้นกล้าท้าหมอกควัน #ต้นกล้าท้าหมอกควัน2567

💐คณะทำงานด้านวิชาการเพื่อสนับสนุนการแก้ไขปัญหาหมอกควันภาคเหนือ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ขอแสดงความยินดีกับ 🌟 อาจารย์ ดร.ณัตติพร ยะบึง 🌟 อาจารย์สังกัดศูนย์วิจัยวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม คณะวิทยาศาสตร์ และคณะทำงานหมอกควัน มช. 🏆 ในโอกาสได้รับทุนพัฒนาศักยภาพในการทำงานวิจัยของอาจารย์รุ่นใหม่ ประจำปีงบประมาณ 2567 จากสำนักงานการวิชาจัยแห่งชาติ (วช.) และร่วมยินดีกับคณาจารย์และนักวิจัยมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ที่ได้รับทุนอุดหนุนการวิจัยและนวัตกรรม จากสำนักงานวิจัยแห่งชาติ (วช.) ประเภททุนศาสตราจารย์วิจัยดีเด่น และทุนพัฒนาศักยภาพในการทำงานวิจัยของอาจารย์รุ่นใหม่ เพิ่มเติม.

🌱จบไปเป็นที่เรียบร้อยแล้วสำหรับค่ายเยาวชนต้นกล้าท้าหมอกควัน : Smogathon ปีที่ 7 ประจำปี 2567 เนื่องในโอกาสเฉลิมฉลองครบรอบ 60 ปี แห่งการสถาปนามหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ที่จัดขึ้นเมื่อวันที่ 29 เมษายน - 1 พฤษภาคม 2567 ที่ผ่านมานี้🌱 ในปีนี้เราขนวิทยากรหลากหลายท่านเพื่อมามอบองค์ความรู้ มอบไอเดีย นวัตกรรม และเทคโนโลยีในการป้องกัน แก้ไข และบรรเทาผลกระทบจากปัญหาหมอกควัน PM2.5 รวมไปถึงมอบแรงบันดาลใจ และ แนวทางการนำเสนอไอเดียเพื่อให้ถูกใจกรรมการให้กับน้องๆและครูทั้ง 27 ทีมที่เข้าร่วมกิจกรรมตลอด 3 วัน 2 คืนของเราค่ะ ☺️ทีมงานขอขอบพระคุณมหาวิทยาลัยเชียงใหม่, คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, ศูนย์วิจัยวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และคณะทำงานด้านวิชาการเพื่อสนบัสนุนการแก้ไขปัญหาหมอกควันภาคเหนือมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ทุกๆท่านที่ร่วมเป็นกำลังสำคัญที่ก่อให้เกิดกิจกรรมดีๆแบบนี้ขึ้นมา ✋ขอขอบพระคุณ รองศาสตราจารย์ ดร.เกศรินทร์ พิมรักษา รองคณบดีฝ่ายวิจัยและวิเทศสัมพันธ์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, รองศาสตราจารย์ ดร.สมพร จันทระ หัวหน้าศูนย์วิจัยวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม และประธานคณะทำงานด้านวิชาการเพื่อสนับสนุนการแก้ไขปัญหาหมอกควันภาคเหนือ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, ที่ให้เกียรติมากล่าวเปิดพิธีอย่างเป็นทางการ ✋ขอขอบพระคุณ ดร.สุกฤษฎิ์ เกิดแสง ผู้อำนวยการศูนย์อุตุนิยมวิทยาภาคเหนือ, คุณบัณรส บัวคลี่ สภาลมหายใจภาคเหนือภาคเหนือ, ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ภาสกร แช่มประเสริฐ ภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และคณะทำงานฯ, ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ชาคริต โชติอมรศักดิ์ หัวหน้าศูนย์ภูมิภาคเพื่อการศึกษาด้านภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม ที่ให้เกียรติเข้าร่วมพิธีเปิดและร่วมเป็นวิทยากรบรรยายในเวทีพูดคุยในหัวข้อ "WHAT WE DO? : บทบาทหน้าที่ของหน่วยงานในการส่งเสริมเยาวชน และประชาชนทั่วไปในการแก้ไขปัญหาหมอกควัน PM2.5" ✋และขอขอบพระคุณ คุณลิสา เอ บูเจนนาส กงสุลใหญ่สหรัฐอเมริกา เชียงใหม่ ที่เป็นเกียรติมาร่วมเป็นวิทยากรเพื่อกล่าวให้แรงบันดาลใจแก่น้องๆ 📣และขอแสดงความยินดีกับน้องๆทั้ง 12 ทีม ที่ผ่านการคัดเลือกเข้าแข่งขันในรอบชิงชนะเลิศ ได้แก่ 1. ทีม Potachos โพตาชอส โรงเรียนวชิรวิทย์เชียงใหม่ "ผลงาน : นวัตกรรม FILTUS" 2. I am young pookpun in lampangโรงเรียนบุญวาทย์วิทยาลัย "ผลงาน : กระถางธูปสูบวิญญาณ" 3. ENFP MPP โรงเรียนเมืองปานพัฒนวิทย์ "ผลงาน : Corn Husk Filter" 4. ไอจามมาจากฝุ่น ไออุ่นมาจากลำปาง โรงเรียนบุญวาทย์วิทยาลัย "ผลงาน : แผ่นกระเบื้องดูดซับฝุ่นควันจากรถยนต์" 5. YRC Fight for fresh โรงเรียนยุพราชวิทยาลัย "ผลงาน : คลื่นเสียงผจญเพลิง" 6. Pseudochiang mai โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ "ผลงาน : MH+ Model" 7. Pureposphere โรงเรียนสามัคคีวิทยาคม "ผลงาน : Pure Cap" 8. Breath SK โรงเรียนสันทรายวิทยาคม "ผลงาน : Little Dusty Classroom" 9. CDW Deadline Lover โรงเรียนเชียงดาววิทยาคม "ผลงาน : Lowcost-lesterol Dipper" 10. DT-ลุยเต้าอั้น โรงเรียนดอยเต่าวิทยาคม "ผลงาน : 5DT+Model" 11. Renatural absorb โรงเรียนแม่สายประสิทธิ์ศาสตร์ "ผลงาน : ขวดกรองอากาศประจุลบ" 12. ฝุ่นเต็มปอดเธอบอกสวดมนต์ โรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย เชียงราย "ผลงาน : มุ้งลวดปกติ" ✋ขอขอบพระคุณ คุณลิสา เอ บูเจนนาส กงสุลใหญ่สหรัฐอเมริกา เชียงใหม่, รองศาสตราจารย์ ดร.เศรษฐ์ สัมภัตตะกุล หัวหน้าหน่วยวิจัยเพื่อการจัดการพลังงานและเศรษฐนิเวศ สถาบันวิจัยพหุศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (3E), คุณบัณรส บัวคลี่สภาลมหายใจภาคเหนือ, คุณสรกฤช เตชปภาวิชญ์ Project Sale Engineering บริษัท อินโนเวทีฟ อินสทรูเมนต์ จำกัด และคุณคุณอักษรศิริ ต้อยปาน Locals Project Leader กรรมการทั้ง 6 ท่านที่ร่วมเป็นกรรมการตัดสินไอเดียอันน่าตื่นตาตื่นใจจากน้องๆทั้ง 27 ทีมของเราค่ะ 🎙ภายในค่ายนี้นอกจากจะได้เห็นไอเดียใหม่ๆจากน้องๆแล้ว ทีมงานยังได้พาน้องๆตัวแทนจากในค่ายมาร่วมขับร้องเพลง "ลมหายใจร่วมกัน" (พรีวิวสั้นๆให้ทุกท่านได้ลองรับฟังกันสักเล็กน้อยค่ะ https://vt.tiktok.com/ZSFKBemfT เรียกได้ว่าจัดเต็มทั้งร้องและแร็ป เสียงดีกันสุดๆไปเลยค่ะ ฝากติดตามเพื่อรับฟังผลงานเพลงจากน้องๆกันได้นะคะ) ✋ทั้งนี้ทั้งนั้น ต้องขอขอบพระคุณกงสุลใหญ่สหรัฐอเมริกา เชียงใหม่, หน่วยวิจัยเพื่อการจัดการพลังงานและเศรษฐนิเวศ สถาบันวิจัยพหุศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, ศูนย์ภูมิภาคเพื่อการศึกษาด้านภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, สภาลมหายใจภาคเหนือ, บริษัท อินโนเวทีฟ อินสทรูเมนต์ จำกัด, สิงห์อาสา, องศาเหนือ และ Locals ThaiPBS ที่ร่วมให้การสนับสนุนการดำเนินกิจกรรมภายในค่ายเยาวชนต้นกล้าท้าหมอกควัน : Smogathon ปีที่ 7 ประจำปี 2567 นี้ ทีมงานหวังเป็นอย่างยิ่งว่าการจัดกิจกรรมในครั้งนี้จะสร้างแรงบันดาลใจให้น้องๆเยาวชนเป็นอย่างมาก และมาร่วมติดตามและเป็นกำลังใจให้น้องๆทั้ง 12 ทีมที่ผ่านเข้ารอบชิงชนะเลิศสู้กันต่อไปค่ะ สำหรับทีมอื่นๆที่ไม่ผ่านเข้ารอบอย่าพึ่งเสียใจไปเรายังมีกิจกรรมอื่นๆอีกมามาหมายให้น้องๆได้มาร่วมสนุกกันนะคะ แล้วพบกันใหม่ค่ะ❤️ #ต้นกล้าท้าหมอกควัน #ต้นกล้าท้าหมอกควัน2567

กลิ่นไฟไหม้รุนแรงมาก อยู่ในอาคารภายใน มช. ยังได้กลิ่น 🔥 “ไฟไหม้ขุนช่างเคี่ยน ดอยสุเทพ-ปุย ยังไม่สามารถควบคุมสถานการณ์ได้ โดยเจ้าหน้าที่สถานีไฟป่าภูพิงค์นำกำลังปีนเขาเข้าไปดับไฟร่วมกับทหาร ทางด้านบนของห้วยตึงเฒ่า ขณะที่ ฮ.กระทรวงทรัพย์บืนทิ้งน้ำทางอากาศอย่างต่อเนื่อง ล่าสุดนายกริชสยาม คงสตรี ผอ.สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 16 ลงพื้นที่พร้อมเสริมทีมเสือไฟเข้าไปดับเนื่องจากยังพบกลุ่มควันพวยพุ่งขนาดใหญ่” 🥺เป็นกำลังใจให้เจ้าหน้าที่และอาสาดับไฟป่าทุกท่าน สถานการณ์หมอกควัน PM2.5 เชียงใหม่บริเวณในพื้นที่ใกล้เคียงดังกล่าวค่อนข้างสูง น้องฟ้าใสขอแนะนำวิธีป้องกันตนเองในช่วงหมอกควัน PM2.5 🔹ภายในอาคารควรมีการเปิดใช้งานเครื่องฟอกอากาศ และปิดประตู หน้าต่างให้มิดชิดเพื่อป้องกันไม่ให้ฝุ่น PM2.5 เล็ดลอดเข้ามา 🔹หากต้องออกนอกอาคาร ✨ตรวจเช็คค่าคุณภาพอากาศและค่าฝุ่น PM2.5 ก่อนออกจากบ้านทุกครั้ง สามารถแอด Line เพื่อให้น้องฟ้าใสรายงานค่า PM2.5 ในบริเวณที่อยากทราบ 📲ผ่าน Line @aircmu หรือคลิกลิ้งค์ >> https://lin.ee/EpQGYcw หรือดูผ่านเว็บไซต์ >> https://www.cmuccdc.org/ หรือแอพลิเคชั่นสำหรับตรวจ;yfคุณภาพอากาศอื่น ๆ 😷สวมใส่หน้ากาก ควรเป็นหน้ากากที่สามารถป้องกัน PM2.5 ได้อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ >> https://www.facebook.com/photo.php?fbid=731310479097598&set=pb.100066559568158.-2207520000&type=3 ❌งดกิจกรรมกลางแจ้ง เช่น การออกกำลังกายกลางแจ้ง เนื่องจากการออกกำลังกายอาจเพิ่มอัตราการหายใจมากขึ้นกว่าปกติ ทำให้มลพิษเข้าสู่ระบบทางเดินหายใจได้มากขึ้น และถ้าหากไม่มีความจำเป็นไม่ควรใช้เวลาอยู่ภายนอกบ้านนานเกินไป ➖➖➖➖➖➖➖➖➖➖➖➖➖➖ #AcAirCMU #ESRC #คณะทำงานด้านวิชาการเพื่อสนับสนุนการแก้ไขปัญหาหมอกควันภาคเหนือ #ศูนย์วิชาการเพื่อสนับสนุนการแก้ไขปัญหาหมอกควันภาคเหนือ

📢📢 ประกาศผลการคัดเลือกทีมที่ได้เข้าร่วมกิจกรรม “โรงเรียนต้นแบบหลักสูตรรู้สู้ฝุ่น”ภายใต้โครงการขยายผลองค์ความรู้"CMU สู้ฝุ่นภาคเหนือ" หลักสูตรท้องถิ่น ผู้นำการเปลี่ยนแปลง และสื่อสาธารณะ ประจำปี 2567 ทีมที่ผ่านการคัดเลือก มีจำนวนทั้งสิ้น 14 ทีม รายละเอียดดังเอกสารแนบ หมายเหตุ : * ทีมที่ผ่านการคัดเลือกเข้าร่วมกลุ่ม Line เพื่อติมตามข่าวสารและนัดหมายการเข้าร่วมกิจกรรมต่อไป>> https://line.me/ti/g/7k9_teKWT7 #AcAirหลักสูตร #AcAirหลักสูตร2567

‘ห้องลดฝุ่น’ แผนที่รวบรวมพื้นที่ปลอดภัยจากมลพิษทางอากาศในจังหวัดเชียงใหม่ แนวทางการบรรเทาปัญหาโดยอาศัยความร่วมมือจากภาครัฐและเอกชน . จังหวัดเชียงใหม่บูรณาการความรวมมือภาครัฐและภาคเอกชน เปิดตัว ‘ห้องลดฝุ่น’ https://lodfoon.com/ แพลตฟอร์มที่แสดงตำแหน่งของพื้นที่ปลอดภัย ข่าวสาร และความรู้เกี่ยวกับการป้องกันตัวจากมลพิษทางอากาศในจังหวัดเชียงใหม่ เพื่อลดผลกระทบต่อสุขภาพให้กับประชาชน โดยเฉพาะผู้ป่วยโรคทางเดินหายใจและกลุ่มเปราะบาง ได้แก่ เด็กเล็ก ผู้สูงอายุ หญิงตั้งครรภ์ และผู้พิการ โดยเปิดให้องค์กรในจังหวัดเชียงใหม่ ทั้งภาครัฐและภาคเอกชน สามารถสมัครสมาชิกเพื่อเข้าร่วมเป็นเครือข่ายห้องลดฝุ่นได้ที่ https://lodfoon.com/auth/register สร้างพื้นที่ปลอดภัยจากฝุ่น PM2.5 ให้ประชาชนสามารถเข้าไปใช้บริการได้ ซึ่งในปัจจุบันมี (23 เมษายน 2567) มีจำนวนสมาชิกที่เข้าร่วมโครงการแล้ว 1028 ราย มีจำนวนห้องลดฝุ่นกว่า 1300 ห้อง . ห้องลดฝุ่นที่เข้าร่วมเครือข่ายจะต้องผ่านการประเมินมาตรฐานก่อนเข้าร่วมเป็นสมาชิก ดังนี้ - มีมาตรการเพื่อดูแลสุขภาพภายในบริเวณห้อง เช่น สัญลักษณ์แจ้งเตือนให้สวมหน้ากากป้องกันฝุ่น - มีเจ้าหน้าที่ที่มีความรู้และความเข้าใจในการดูแลห้องลดฝุ่น - ไม่มีวัสดุหรืออุปกรณ์ที่เป็นแหล่งกำเนิดและสะสมของ PM2.5 ภายในห้อง เช่น การจุดธูป การจุดเทียน การสูบบุหรี่ - มีระบบระบายอากาศในช่วงเวลาที่ฝุ่นน้อย มีทางเข้า – ออกเพียงทางเดียว หรือมีการใช้ประตู 2 ชั้น - มีการรักษาความสะอาด และมีพื้นที่ปลูกต้นไม้เพื่อดักฝุ่น นอกจากนี้ ยังมีการจัดระดับห้องลดฝุ่นออกเป็น 3 ระดับ ดังนี้ - ‘ระดับ 1 ดาว’ มีการปิดกั้นไม่ให้ฝุ่นจากภายนอกเข้ามาในห้อง โดนใช้วัสดุที่เหมาะสม และมีการใช้อุปกรณ์เพื่อลดปริมาณฝุ่นในอากาศที่ได้มาตรฐานอุตสาหกรรม ใช้แผ่นกรองที่มีคุณภาพไม่ต่ำกว่าระดับ MERV 11 หรือ HEPA - ‘ระดับ 2 ดาว’ เช่นเดียวกับระดับ 1 ดาว และมีระบบเติมอากาศให้ภายในห้องเป็นสภาวะแรงดันบวก และมีค่าความเข้มข้นของ PM2.5 ภายในห้องน้อยกว่าภายนอกอย่างน้อย 25% - ‘ระดับ 3 ดาว’ เช่นเดียวกับระดับ 2 ดาว และมีค่าความเข้มข้นของ PM2.5 ภายในห้องไม่เกิน 37.5 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร หรือน้อยกว่าภายนอกอย่างน้อย 50% . #CMUNEWS #ห้องลดฝุ่น #มชทูเดย์ #CMUTODAY

ศูนย์วิจัยวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ Environmental Science Research Center #ESRC ศึกษาที่มาและองค์ประกอบทางเคมีของฝุ่น PM2.5 ในตัวเมืองเชียงใหม่ ทั้งในและนอกฤดูหมอกควัน ส่วนใหญ่เกิดจากควันข้ามประเทศจากการเผาชีวมวลและการจราจร . ศูนย์วิจัยวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เปิดเผยผลการศึกษาองค์ประกอบทางเคมีของฝุ่น PM2.5 ในตัวเมืองเชียงใหม่ ด้วยการเก็บตัวอย่างฝุ่น PM2.5 จำนวนทั้งสิ้น 51 ตัวอย่าง จากบริเวณป้อมจราจรริมถนนสี่แยกรินคำในช่วงฤดูฝุ่น (มีนาคม - เมษายน 2562) และช่วงนอกฤดูฝุ่น (พฤษภาคม 2562) นำมาแยกองค์ประกอบทางเคมีต่าง ๆ ได้แก่ ไอออนละลายน้ำ , คาร์บอนอินทรีย์, ธาตุคาร์บอน, สารกลุ่มคาร์โบไฮเดรต, คาร์บอกซิเลต และโลหะ แล้ววิเคราะห์ด้วย ‘แบบจำลอง Positive Matrix Factorization (PMF)’ และ ‘แบบจำลอง Potential Source Contribution Function (PSCF)’ เพื่อศึกษาสัดส่วนแหล่งกำเนิดและแหล่งที่มาของฝุ่น . ผลการศึกษา พบว่าในฤดูฝุ่นค่าความเข้มข้นฝุ่นมีค่าเฉลี่ย 116 +/- 35 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร (มคก./ลบ.ม.) โดยมีแหล่งกำเนิดจาก 4 กลุ่ม ดังนี้ - การเผาไหม้ชีวมวล 59.3 มคก./ลบ.ม. (51%) - ฝุ่นทุติยภูมิ 26.2 มคก./ลบ.ม. (23%) - ฝุ่นดิน 16.1 มคก./ลบ.ม. (14%) - การจราจร 14.6 มคก./ลบ.ม. (13%) และผลวิเคราะห์จากแบบจำลอง PSCF พบว่าจุดกำเนิดของฝุ่นจากการเผาไหม้ชีวมวลจะอยู่บริเวณชายแดนไทย - เมียนมาและจังหวัดแม่ฮ่องสอน ส่วนฝุ่นทุติยภูมิมีจุดกำเนิดจากจากประเทศอินเดียและเมียนมาเป็นหลัก . สำหรับช่วงนอกฤดูฝุ่น ค่าความเข้มข้นฝุ่นมีค่าเฉลี่ย 35 +/- 6 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร โดยมีแหล่งกำเนิดจาก 3 กลุ่ม ดังนี้ - การจราจร 27.2 มคก./ลบ.ม. (76%) - ฝุ่นดิน 5.9 มคก./ลบ.ม. (17%) - การเผาชีวมวล 2.5 มคก./ลบ.ม. (7%) . การศึกษานี้แสดงให้เห็นว่าถึงแม้ว่าจะไม่มีมลพิษข้ามแดนจากการเผาไหม้ชีวมวล ตัวเมืองเชียงใหม่ก็ยังได้รับผลกระทบจากการจราจรและปัจจัยอื่น ๆ มากพอสมควร และถึงแม้ว่าค่าความเข้มข้นของฝุ่นในช่วงนอกฤดูฝุ่นจะต่ำกว่าช่วงในฤดูฝุ่นอย่างมาก แต่ก็อยู่ในระดับที่เกินมาตรฐานที่องค์การอนามัยโลกกำหนดไว้ที่ 15 มคก./ ลบ.ม. นับเป็นพื้นที่ที่ประสบปัญหามลพิษทางอากาศอย่างต่อเนื่องตลอดทั้งปี ดังนั้น หน่วยงานต่าง ๆ ควรมีการจัดอันดับความสำคัญในการแก้ปัญหาและบรรเทาผลกระทบจากมลพิษทางอากาศให้สัมพันธ์กับแหล่งกำเนิดและการเคลื่อนที่ของมวลอากาศในแต่ละช่วงเวลา . อ่านบทความวิจัยฉบับเต็ม ‘Chemical composition and origins of PM2.5 in Chiang Mai (Thailand) by integrated source apportionment and potential source areas’ วารสาร Atmospheric Environment, Volume 327, 15 June 2024 ได้ที่เว็บไซต์ https://doi.org/10.1016/j.atmosenv.2024.120517 . #AcAirวิจัย #AcAirวิจัย2567 #CMUNEWS #PM25 #ฝุ่นควันภาคเหนือ #มชทูเดย์ #CMUTODAY . อ้างอิง: 1. ทีมนักวิจัยคณะวิทย์ ม.เชียงใหม่ เผยที่มาและองค์ประกอบทางเคมีของฝุ่น PM2.5 ในตัวเมืองเชียงใหม่ ทั้งในและนอกช่วงฤดูหมอกควัน https://cmu.ac.th/th/article/89cb6260-ba01-4ed1-8f4a-9a9694d5a8dc?fbclid=IwZXh0bgNhZW0CMTAAAR0V0x2DJNAP3Og7t9QOUtvlKRE6d4yr-qYrEzPsnHLIuKhrLglY4otFo6c_aem_Af-4_df8n-fkS2ENADzPoZ4ZFvvpOZiD6sQFh3_A5mwG8RWn6T_rUeZYNvCOQ1Glq44Ge_nlk-APgmiX0NKoI8u4

❌❌หยุด PM2.5 ก่อนจะสาย การตายจากมะเร็งปอดที่ “ไม่ยุติธรรม” ของคณบดี ม.เชียงใหม่ ผ่านการต่อสู้ของครอบครัว อาลัย คณบดีคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เสียชีวิตจากมะเร็งปอด คำเตือน วีดีโอนี้เนื้อหาที่อาจทำให้สะเทือนใจ #สิทธิในอากาศสะอาด #สิทธิในชีวิต #จับตาพรบอากาศสะอาด #ปชชไม่ใช่ตรายาง #เครือ ขอบคุณคลิปวีดีโอจาก BBC

📢 ประชาสัมพันธ์ โครงการโรงเรียนต้นแบบหลักสูตรรู้สู้ฝุ่น 📖💨 👉🏻เปิดโอกาสให้ โรงเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษา ร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหาหมอกควัน PM2.5 ✔️เพื่อเป็น โรงเรียนต้นแบบหลักสูตรรู้สู้ฝุ่น และสนับสนุนความยั่งยืนในการขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหาหมอกควัน PM2.5 พร้อมได้รับสิทธิพิเศษในการแสดงผลงานระดับชาติและนานาชาติ น้องๆ นักเรียน เยาวชนและคุณครูในพื้นที่ภาคเหนือตอนบนและพื้นที่ใกล้เคียงทุกท่าน 💁คุณสมบัติ 1. น้องๆ นักเรียนกำลังศึกษาในระดับชั้นมัธยมศึกษา (ม.1-ม.6) 2. เข้าร่วมโครงการเป็นทีม ซึ่งภายใน 1 ทีม ประกอบด้วย นักเรียน ไม่เกิน 4 คนและคุณครู 1-2 ท่าน/1 ทีม (รวม 1 ทีม ไม่เกิน 5 คน) * คุณครูที่ปรึกษา สามารถกรอกแบบฟอร์มสมัครเข้าร่วมโครงการก่อนได้ค่ะ แล้วจึงกรอกรายละเอียดเด็กนักเรียนเพื่อเข้าร่วมทีมได้ในภายหลัง หมายเหตุ : * น้องๆ จากพื้นที่บริหารจัดการพิเศษในจังหวัดเชียงใหม่ 8 พื้นที่ อำเภอแม่ออน-อำเภอสันกำแพง, บริเวณเขื่อนแม่กวง, ตำบลแม่ศึก อำเภอแม่แจ่ม, อำเภอสะเมิง, อำเภอสันทราย, บ้านปง อำเภอหางดง, ตำบลเมืองนะ อำเภอเชียงดาว และอำเภอฮอด และบริเวณใกล้เคียง จะได้รับการพิจารณาเป็นพิเศษ ➖➖➖➖➖➖➖➖➖➖➖➖➖➖ #AcAirหลักสูตร #AcAirหลักสูตร2567 #AcAirCMU มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ Chiang Mai University Environmental Science Research Center #ESRC #ESRC #ESRC #คณะทำงานด้านวิชาการเพื่อสนับสนุนการแก้ไขปัญหาหมอกควันภาคเหนือ #ศูนย์วิชาการเพื่อสนับสนุนการแก้ไขปัญหาหมอกควันภาคเหนือ #มชทูเดย์ #มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ CCDC: Climate Change Data Centerสภาลมหายใจเชียงใหม่RCCES CMUUniserv CMUWEVO สื่ออาสาFM100 เสียงสื่อสารมวลชน

📢📢 ประกาศผลการคัดเลือกทีมที่ได้เข้าร่วมค่ายเยาวชนต้นกล้าท้าหมอกควัน ปีที่ 7 ประจำปี 2567 ทีมที่ผ่านการคัดเลือกเพื่อเข้าร่วมค่ายฯ มีจำนวนทั้งสิ้น 27 ทีม รายละเอียดดังเอกสารแนบ หมายเหตุ : * ทีมที่ผ่านการคัดเลือกเข้าร่วมกลุ่ม Line เพื่อติมตามข่าวสารและนัดหมายการเข้าร่วมค่ายฯ >> https://line.me/ti/g/M2PVaQa8CQ ** ใบประกาศนียบัตรเข้าร่วมโครงการฯ สำหรับทุกทีมที่ส่งผลงานเข้ามา ทีมงานจะส่งลิ้งให้ดาวน์โหลดภายในวันที่ 15 พฤษภาคม 2567 ผ่าน E-mail ที่แจ้งไว้ #ต้นกล้าท้าหมอกควัน #ต้นกล้าท้าหมอกควัน2567

❌❌❌ ปิดนับยอดกดไลค์กดแชร์ ❌❌❌ ✅ประกาศ เพื่อให้การนับคะแนนมีความยุติธรรมและโปร่งใส ขอความกรุณาเปิดโพสต์ที่แชร์เป็นสาธารณะ 👉การนับคะแนนกดแชร์ 1 แชร์/ 1 แอคเคาน์ และต้องเปิดเป็นสาธารณะเพื่อให้ทีมงานสามารถตรวจสอบได้ค่ะ จะเริ่มตรวจสอบใหม่อีกครั้งเวลา 12.00 น. วันที่ 17 เมษายน 2567 ค่ะ #ต้นกล้าท้าหมอกควัน #ต้นกล้าท้าหมอกควัน2567

วันนี้วันสุดท้ายแล้วน้องๆทุกคนเหลือเวลาไม่ถึงสี่ชั่วโมงสำหรับคะแนนโหวต.... สู้ๆแล้วเจอกัน #ต้นกล้าท้าหมอกควัน #ต้นกล้าท้าหมอกควัน2567

📢 ประกาศค่ายเยาวชนต้นกล้าท้าหมอกควัน ปีที่ 7 ประจำปี 2567 📢 มาแล้วจ้า เปิดแผงแล้วจ้า ลุงป้าน้าอาพ่อแม่พี่น้องเพื่อนสนิทมิตรสหายทุกท่านมามุงกันด่วนๆ ค่าาา ขอเชิญทุกท่านมาชม และช่วยกดไลค์ กดแชร์ ผลงาน Infographic จากน้องๆระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย ในหัวข้อ "ปัญหาหมอกควัน PM 2.5 ในพื้นที่" ซึ่งปิดรับสมัครและส่งผลงานไปเป็นที่เรียบร้อยแล้ววันที่ 11 เมษายน 2567 ที่ผ่านมา ❕ค่ายในครั้งนี้มีน้องๆ ส่งผลงานเข้ามารวมทั้งสิ้น 85 ทีมด้วยกัน 😱 ❌❌❌ ปิดนับยอดกดไลค์กดแชร์แล้วค่ะ ❌❌❌ โดยยอดกดไลค์ กดแชร์จะนำไปคิดเป็นคะแนนร้อยละ 20 ในการคัดเลือกน้องๆที่จะได้เข้าค่ายของเราในวันที่ 29 เมษายน - 1 พฤษภาคม 2567 ที่จะถึงนี้ 🟢 เพียง จำนวน 20 ทีม เท่านั้น 🟢 🔹 กติกาการนับคะแนนยอดกดไลค์ กดแชร์ จาก Infrograpic ที่ชื่นชอบ ดังนี้ 🔹 👉 กดแชร์ = 2 คะแนน 👍 กดถูกใจ รักเลย ห่วงใย ฮ่าๆ ว้าว เศร้า โกรธ = 1 คะแนน ❌สิ้นสุดการนับคะแนนยอดกดไลค์ กดแชร์ในวันที่ 16 เมษายน 2567 เวลา 23:59 นาฬิกา❌ มาเป็นกำลังใจให้เด็กๆ และร่วมด้วยช่วยกันแก้ไขปัญหาหมอกควัน PM2.5 เพื่อลมหายใจที่สะอาดในอนาคตของเราเองนะคะ 💖ด้วยความห่วงใย จากคณะทำงานด้านวิชาการเพื่อสนับสนุนการแก้ไขปัญหาหมอกควันภาคเหนือ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ #ต้นกล้าท้าหมอกควัน #ต้นกล้าท้าหมอกควัน2567

📢 ประกาศค่ายเยาวชนต้นกล้าท้าหมอกควัน ปีที่ 7 ประจำปี 2567 📢 มาแล้วจ้า เปิดแผงแล้วจ้า ลุงป้าน้าอาพ่อแม่พี่น้องเพื่อนสนิทมิตรสหายทุกท่านมามุงกันด่วนๆ ค่าาา ขอเชิญทุกท่านมาชม และช่วยกดไลค์ กดแชร์ ผลงาน Infographic จากน้องๆระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย ในหัวข้อ "ปัญหาหมอกควัน PM 2.5 ในพื้นที่" ซึ่งปิดรับสมัครและส่งผลงานไปเป็นที่เรียบร้อยแล้ววันที่ 11 เมษายน 2567 ที่ผ่านมา ❕ค่ายในครั้งนี้มีน้องๆ ส่งผลงานเข้ามารวมทั้งสิ้น 85 ทีมด้วยกัน 😱 โดยยอดกดไลค์ กดแชร์จะนำไปคิดเป็นคะแนนร้อยละ 20 ในการคัดเลือกน้องๆที่จะได้เข้าค่ายของเราในวันที่ 29 เมษายน - 1 พฤษภาคม 2567 ที่จะถึงนี้ 🟢 เพียง จำนวน 20 ทีม เท่านั้น 🟢 🔹 กติกาการนับคะแนนยอดกดไลค์ กดแชร์ จาก Infrograpic ที่ชื่นชอบ ดังนี้ 🔹 👉 กดแชร์ = 2 คะแนน 👍 กดถูกใจ รักเลย ห่วงใย ฮ่าๆ ว้าว เศร้า โกรธ = 1 คะแนน ❌สิ้นสุดการนับคะแนนยอดกดไลค์ กดแชร์ในวันที่ 16 เมษายน 2567 เวลา 23:59 นาฬิกา❌ มาเป็นกำลังใจให้เด็กๆ และร่วมด้วยช่วยกันแก้ไขปัญหาหมอกควัน PM2.5 เพื่อลมหายใจที่สะอาดในอนาคตของเราเองนะคะ 💖ด้วยความห่วงใย จากคณะทำงานด้านวิชาการเพื่อสนับสนุนการแก้ไขปัญหาหมอกควันภาคเหนือ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

💦สาหวัดดีค้าบบบบบ ฮ้องน้องว่าไอจ๊าบ ตั้ดนี้มีก้าคนเท่ๆ มีก้าคนเฟี้ยวๆ มีก้าคนจ๊าบๆ แล้วปี้จะยะใดดีค้าบบบ........จ๊าบของแต๊ จ๊าบของแต๊ น้องฟ้าใสจ๊าบของแต๊ มาร่วมสวัสดีปี๋ใหม่เมืองง้าบบบบบบบ อิอิ🥰 👉 ปี๋ใหม่นี้ ปิ้กบ้านไปดำหัวคนเฒ่าคนแก่ร่วมสืบสานป๋าเวณีปี๋ใหม่เมือง บ่าฮู้จะเอาหยังก็กำแมสไปดำหัวโตยก่ได้เน้อออ😁 #AirCMU #LineAirCMU2567

มาแล้ว!! "เครื่องฟอกและเติมอากาศแรงดันบวก พร้อมระบบรายงานผลออนไลน์ DustGirl" โดย CCDC ร่วมกับบริษัท วินเซนต์ ออโตเมชั่น จำกัด

คณะทำงานด้านวิชาการเพื่อสนับสนุนการแก้ไขปัญหาหมอกควันภาคเหนือ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ร่วมกับภิรมย์ภักดีและบริษัท บุญรอดบริวเวอรี่ จำกัด ร่วมขยายผลนวัตกรรม "มุ้งสู้ฝุ่น" และ "ห้องเรียนปลอดฝุ่น" เพื่อบรรเทาปัญหาสุขภาพให้กับประชาชน กลุ่มเด็กเล็ก กลุ่มเสียง ผู้สูงอายุ และผู้ป่วยติดเตียง https://www.facebook.com/Thairealtvhd/posts/pfbid0gf5pxVVZdwBQqTgmbmF1C42VrzHrpx2gmhSCa4Bc8QiEqqjemcFqL8nKk4xLD52Ul

เคยไหม? รู้สึกปวดหัวในช่วงที่ PM2.5 พุ่งสูง PM2.5 มีความสัมพันธ์กับหลายโรค รวมถึงโรคสมอง ด้วยความที่มีขนาดเล็กจึงสามารถเข้าตรงไปที่สมองได้ - ในคนอายุน้อย โรคปวดศีรษะไมเกรน หากสูด PM 2.5 เข้าไป ก็จะทำให้ประสิทธิภาพในการทำงานของสมองลดลงไป ไมเกรนเป็นมากขึ้น อาการเวียนศีรษะก็จะเป็นมากขึ้น - ในเด็กเล็ก เป็นวัยที่สมองกำลังมีการเจริญเติบโต PM2.5 สามารถทำให้เด็กมีความจำ ความฉลาดที่ลดลง -ผู้สูงอายุที่อายุมากว่า 60 ปีขึ้นไปถือว่ามีความเสี่ยงสูง -ผู้สูงอายุกลุ่มที่มีโรคประจำตัวที่เกี่ยวกับโรคสมอง เช่น คนที่เป็นอัมพฤกษ์อัมพาต เป็นโรคหลอดเลือดสมองตีบ โรคอัลไซเมอร์ โรคความจำเสื่อม ก็จะมีปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดภาวะสมองเสื่อมมากขึ้น เกิดโรคอัมพฤกษ์อัมพาตเป็นซ้ำได้ง่ายขึ้น ฝุ่น PM 2.5 =เพชฌฆาตเงียบ ขอบคุณข้อมูลจาก คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ มช. เผยตัวเลขผู้ป่วยโรคมะเร็งปอด ภาคเหนือสูงที่สุดในประเทศ สัมพันธ์กับค่าฝุ่น PM2.5!!! - อัตราการตายด้วยโรคมะเร็งปอดตั้งแต่ ปี 2553-2564 ภาคเหนือ โดยเฉพาะจังหวัดเชียงใหม่ และลำปางสูงที่สุดในประเทศ (จากปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็ก หรือ PM2.5 ในภาคเหนือที่สะสมมายาวนานกว่า 10 ปี และมีแนวโน้มรุนแรงขึ้น) - สัดส่วนของผู้ป่วยมะเร็งปอดในคนหนุ่มสาวของประชากรภาคเหนือสูงกว่าภาคอื่นๆ ซึ่งน่าจะมีความเกี่ยวข้องกับฝุ่น PM2.5 -มีงานวิจัยที่รองรับทั่วโลกแล้วว่าการสัมผัสฝุ่น PM 2.5 ในระยะยาว มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งมะเร็งปอด ได้อย่างมีนัยสำคัญ - ทุกๆ 10 ไมโครกรัม/ลบ.เมตรที่เพิ่มขึ้นของค่าเฉลี่ย PM2.5 รายวัน จะสัมพันธ์กับการเสียชีวิตเพิ่มขึ้นของประชากรเชียงใหม่ 1.6% ในอีก 6 วันต่อมา (งานวิจัยของคณะแพทยศาสตร์ มช. ที่ได้ทำการศึกษาผู้ที่เสียชีวิตในจังหวัดเชียงใหม่ที่สัมพันธ์กับระดับ PM2.5) ข้อมูลจาก รศ.นพ.เฉลิม ลิ่วศรีสกุล หัวหน้าภาควิชาอายุรศาสตร์และอาจารย์ประจำหน่วยวิชาระบบการหายใจ เวชบำบัดวิกฤตและภูมิแพ้ คณะแพทยศาสตร์ และ คณะทำงานด้านวิชาการเพื่อสนับสนุนการแก้ไขปัญหาหมอกควันภาคเหนือ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ หลักฐานสนับสนุนความสัมพันธ์ของฝุ่น PM2.5 กับมะเร็งได้จากงานวิจัยของคณะแพทยศาสตร์ มช. ที่ได้ทำการศึกษาผู้ป่วยโรคถุงลมโป่งพองในพื้นที่ อ.เชียงดาว ซึ่งเป็นพื้นที่ที่มีค่า PM2.5 สูงอันดับต้นๆของจ.เชียงใหม่ โดยการขูดเซลล์บริเวณกระพุ้งแก้มของผู้ป่วยถุงลมโป่งพองไปตรวจ เปรียบเทียบกันระหว่างช่วงที่มีฝุ่น PM2.5 สูงและช่วงที่มีฝุ่น PM2.5 ต่ำ ผลปรากฏว่าในช่วงที่มีฝุ่น PM2.5 สูง เซลล์กระพุ้งแก้มของผู้ป่วยมีการเปลี่ยนแปลง บ่งบอกว่ายีนมีความผิดปกติ ซึ่งจะส่งผลในระยะยาว จนกลายเป็นเซลล์มะเร็งได้ในอนาคต นอกจากนี้ยังพบผู้ป่วยโรคระบบทางเดินหายใจเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะระบบทางเดินหายใจส่วนบน เช่น เลือดกำเดาไหล น้ำมูกไหลจากจมูกอักเสบ เจ็บคอ เสียงแหบ ไอ ซึ่งเป็นอาการจาก PM2.5 ที่ไม่รุนแรง แต่โรคที่มีความรุนแรงซึ่งมีความสัมพันธ์กับปริมาณฝุ่น PM2.5 และพบมากที่สุดในเดือนมีนาคม 2567 ที่ผ่านมา คือ การกำเริบของโรคถุงลมโป่งพอง โรคหลอดเลือดหัวใจและ โรคหลอดเลือดสมอง” ซึ่งทั้งหมดนำไปสู่การเจ็บป่วยที่รุนแรงจนถึงขั้นเสียชีวิต รศ.นพ.เฉลิม ลิ่วศรีสกุล เปิดเผยเพิ่มเติมว่า “การจะลดจำนวนผู้ป่วยได้นั้น ต้องอาศัยปัจจัยต่างๆ สิ่งสำคัญคือการลดปริมาณฝุ่นได้แก่ ลดการเผาในพื้นที่การเกษตร ควบคุมฝุ่นควันข้ามแดน ส่วนประชาชนจำเป็นต้องปฏิบัติตัวอย่างเหมาะสม แนะนำให้ติดตามค่าฝุ่นละอองทุกวัน หากเกินค่ามาตรฐานควรงดกิจกรรมกลางแจ้ง หรือหากมีความจำเป็น ควรใส่หน้ากากที่สามารถป้องกันฝุ่น PM2.5 ได้คือ หน้ากากมาตรฐาน N-95, KN-95 หรือ FFP2 และใช้ระยะเวลาในการออกนอกอาคารให้สั้นที่สุด เพื่อหลีกเลี่ยงการสูด PM2.5 เข้าไปในร่างกายในปริมาณมากๆ ซึ่งอาจจะส่งผลกระทบต่อสุขภาพทั้งในระยะสั้นและในระยะยาวได้”

"กรมการแพทย์" เผย "โรคมะเร็งปอด" ในภาคเหนือพบผู้ป่วยรายใหม่เฉลี่ยวันละ 7 ราย!!! และเสียชีวิตเฉลี่ยประมาณวันละ 5 ราย !!! ฝุ่น PM 2.5 เป็นปัจจัยเสี่ยงหนึ่งในการเกิดมะเร็งปอด ไม่ใช่สาเหตุเพียงอย่างเดียว โดยนายแพทย์สกานต์ บุนนาค รองอธิบดีกรมการแพทย์ กล่าวว่า โรคมะเร็งปอดเป็นปัญหาสำคัญทางสาธารณสุขในภาคเหนือ โดยพบว่ามีอุบัติการณ์ของโรคมะเร็งปอดสูงกว่าภาคอื่นๆ ซึ่งมะเร็งปอดเกิดจากหลายปัจจัยเสี่ยงร่วมกัน ทั้งพันธุกรรม หรือการได้รับสารก่อมะเร็งต่างๆ ปัจจัยเสี่ยงหลักของโรคมะเร็งปอดที่สำคัญเกิดจากการสูบบุหรี่และควันบุหรี่มือสองนอกจากนี้ ปัจจัยเสี่ยงอื่นๆอีก อย่างไรก็ตาม หากต้องอยู่ในสถานที่มีฝุ่น PM 2.5 เฉลี่ยสูง ควรใส่หน้ากากที่สามารถป้องกันฝุ่นขนาดที่เล็กกว่า 2.5 ไมครอน

สถานการณ์หมอกควัน PM2.5 เชียงใหม่ในเช้าวันนี้ (9 เมษายน 2567 เวลา 09.00 น.) บริเวณเส้นถนนซุปเปอร์ไฮเวย์เชียงใหม่-ลำปาง และวิวดอยสุเทพ...แบบใดห์ น้องฟ้าใสขอแนะนำวิธีป้องกันตนเองในช่วงหมอกควัน PM2.5 🔹ภายในอาคารควรมีการเปิดใช้งานเครื่องฟอกอากาศ และปิดประตู หน้าต่างให้มิดชิดเพื่อป้องกันไม่ให้ฝุ่น PM2.5 เล็ดลอดเข้ามา 🔹หากต้องออกนอกอาคาร ✨ตรวจเช็คค่าคุณภาพอากาศและค่าฝุ่น PM2.5 ก่อนออกจากบ้านทุกครั้ง สามารถแอด Line เพื่อให้น้องฟ้าใสรายงานค่า PM2.5 ในบริเวณที่อยากทราบ 📲ผ่าน Line @aircmu หรือคลิกลิ้งค์ >> https://lin.ee/EpQGYcw หรือดูผ่านเว็บไซต์ >> https://www.cmuccdc.org/ หรือแอพลิเคชั่นสำหรับตรวจ;yfคุณภาพอากาศอื่น ๆ 😷สวมใส่หน้ากาก ควรเป็นหน้ากากที่สามารถป้องกัน PM2.5 ได้อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ >> https://www.facebook.com/photo.php?fbid=731310479097598&set=pb.100066559568158.-2207520000&type=3 ❌งดกิจกรรมกลางแจ้ง เช่น การออกกำลังกายกลางแจ้ง เนื่องจากการออกกำลังกายอาจเพิ่มอัตราการหายใจมากขึ้นกว่าปกติ ทำให้มลพิษเข้าสู่ระบบทางเดินหายใจได้มากขึ้น และถ้าหากไม่มีความจำเป็นไม่ควรใช้เวลาอยู่ภายนอกบ้านนานเกินไป สำหรับค่า PM2.5 ดังที่แสดงผลในภาพ 148 ไมโครกรัม/ลบ.ม. น้องฟ้าใส ขอแนะนำให้ -ประชาชนกลุ่มเสี่ยง “งด” กิจกรรมนอกอาคารที่ใช้แรงหนักหรือเป็นเวลานาน -ประชาชนทั่วไป “ลด“ กิจกรรมนอกอาคารที่ใช้แรงหนักหรือเป็นเวลานาน ➖➖➖➖➖➖➖➖➖➖➖➖➖➖ #AirCMU #LineAirCMU2567 #AcAirCMU #ESRC #คณะทำงานด้านวิชาการเพื่อสนับสนุนการแก้ไขปัญหาหมอกควันภาคเหนือ #ศูนย์วิชาการเพื่อสนับสนุนการแก้ไขปัญหาหมอกควันภาคเหนือ

การพยากรณ์คุณภาพแนวโน้มความเข้มข้นฝุ่น PM2.5 ลดลงในพื้นที่อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ ช่วง 9-12 เม.ย. การระบายอาศช่วงบ่ายสามารถช่วยระบายลดความเข้มฝุ่น PM2.5 ได้ดี คาดว่าจะเกิดพายุฤดูร้อน โมเดลจากแบบจำลอง WRF-Chem

🧐PM 2.5 เป็นสาเหตุของมะเร็งปอดจริงไหม??? ปัญหามลภาวะทางอากาศของเชียงใหม่ รวมถึงหลาย ๆ จังหวัดในภาคเหนือของประเทศไทย มีมานานกว่า 10 ปี และมีความรุนแรงมากขึ้นเรื่อย ๆ โดยเฉพาะในช่วง 3-5 ปีที่ผ่านมา มลภาวะทางอากาศในระดับรุนแรงที่ดูกันง่าย ๆ จาก Air quality index (AQI) ว่าเป็นสีแดง สีม่วงนั้น ส่งผลกระทบต่อสุขภาพชัดเจน ทั้งโรคทางเดินหายใจ โรคทางหลอดเลือดสมองและหัวใจ และแน่นอนคือมะเร็งปอด สำหรับ Particulate matter (PM) 2.5 คือ วัตถุที่มีขนาดเล็กกว่า 2.5 ไมครอน ก็คือเล็กกว่ามิลลิเมตรพันเท่า เลยสามารถลงไปในปอดส่วนลึกได้ มะเร็งปอดคนทั่วไปจะเข้าใจว่าสัมพันธ์กับการสูบบุหรี่ เป็นความเข้าใจที่ถูกต้อง มีความสัมพันธ์กัน ยิ่งสูบเยอะ สูบนาน ยิ่งเพิ่มโอกาสในการเป็นมะเร็งปอด แต่ปัจจุบันพบว่าคนที่ไม่สูบบุหรี่สามารถเป็นมะเร็งปอดได้เช่นเดียวกันและพบได้ไม่น้อย โดยเฉพาะในคนที่มีอายุน้อย เพศหญิงและเป็นชาวเอเชียตะวันออก เริ่มแรกตั้งแต่ปี 2009 มีการศึกษาพบว่า กลุ่มผู้ป่วยที่มีลักษณะเช่นนี้ สัมพันธ์กับยีนกลายพันธุ์ที่เรียกว่า EGFR แต่สาเหตุของการเกิดมะเร็งปอดในผู้ป่วยกลุ่มนี้นั้น มีหลายปัจจัยส่งเสริม เช่น พันธุกรรม เชื้อชาติ การได้รับสารก่อมะเร็ง และมลภาวะทางอากาศ มีการศึกษาพบว่า ทุกๆ PM 2.5 ที่เพิ่มขึ้น 1 ไมโครกรัมมิลลิเมตร ทำให้อุบัติการณ์ของ มะเร็งปอดที่มียีนกลายพันธุ์ EGFR เพิ่มขึ้น ทั้งจากประชากรในประเทศอังกฤษ เกาหลีใต้และไต้หวัน และพบว่าผู้ที่ได้รับมลภาวะทางอากาศสูงเป็นเวลา 3 ปี เกิดมะเร็งปอดที่มียีนกลายพันธุ์ EGFR มากกว่าผู้ที่ได้รับมลภาวะทางอากาศน้อย 1.08 เท่า ดังนั้นหากอยู่ในสภาวะแวดล้อมที่มีมลภาวะทางอากาศสูง 3 ปีก็เพียงพอที่จะกระตุ้นให้เกิดมะเร็งปอดชนิดนี้ จากการศึกษาในหนูพบว่า PM เป็นสิ่งที่กระตุ้นให้เกิดมะเร็งปอดในหนูที่มียีนกลายพันธุ์ EGFR และ KRAS อยู่แล้ว โดยกระตุ้นให้เกิดการเพิ่มขึ้นของเซลล์ที่มียีนกลายพันธุ์ทั้งในปอดปกติที่ยังไม่เกิดมะเร็งและในรอยโรคที่มีแนวโน้มที่จะเกิดมะเร็งในอนาคต ผ่านการกระตุ้นการอักเสบและการสร้างสารอักเสบ (Inflammatory cytokines) IL-1B นอกจากนี้การศึกษาที่นำเนื้อเยื่อจากปอดปกติของผู้ป่วยที่เป็นมะเร็งและผู้ป่วยที่มีก้อนเล็ก ๆ ที่สงสัยว่าจะเป็นมะเร็ง 295 คน มาตรวจ พบว่า 18% ของเนื้อเยื่อปอดปกตินี้มียีนกลายพันธุ์ EGFR อยู่แล้ว และ 53% มียีนกลายพันธุ์ KRAS ดังนั้นจากการศึกษาทั้งหมดที่กล่าวมา สรุปได้ว่า PM 2.5 เป็นปัจจัยกระตุ้นให้เกิดมะเร็งปอด โดยเฉพาะในคนที่มีการกลายพันธุ์ของยีน EGFR และ KRAS อยู่แล้ว อย่างไรก็ตามจะเห็นได้ว่า PM 2.5 นั้นเป็น “ปัจจัยกระตุ้น” ไม่ใช่สาเหตุ และในปัจจุบันเราไม่สามารถบอกได้ชัดเจนว่า ในผู้ป่วยคนหนึ่งที่เป็นมะเร็งปอดนั้นมีสาเหตุจากอะไรได้แน่นอน เนื่องจากกระบวนการเกิดมะเร็งดังกล่าวซับซ้อนและเกิดได้จากหลายปัจจัยกระตุ้นดังที่กล่าวไว้ข้างต้น เมื่อทราบดังนี้แล้ว จึงไม่ควรอยู่ในบริเวณที่มีมลภาวะทางอากาศสูง หากหลีกเลี่ยงไม่ได้ควรใส่หน้ากากที่ป้องกัน PM 2.5 ได้แก่ หน้ากาก N95 เป็นต้นไป จึงจะสามารถกรองอนุภาคเหล่านี้ได้ งดกิจกรรมกลางแจ้ง อยู่ในอาคารและเปิดเครื่องฟอกอากาศ Ref: https://www.nature.com/articles/s41586-023-05874-3 บทความโดย : อาจารย์ แพทย์หญิงธนิกา เกตุเผือก หน่วยวิชามะเร็งวิทยา ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

Website & Application
PM2.5

by AcAirCMU Team

CMU CCDC

by CMUCCDC
เว็ปไซต์แสดงคุณภาพอากาศจากเซนเซอร์วัดฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM2.5 และ PM10

Air Quality Information Center

by สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ(วช.)
เว็ปไซต์แสดงค่าฝุ่น PM2.5 ทั่วประเทศ ค่าพยากรณ์ PM2.5 ล่วงหน้า

Thai Air Quality

by RCCES
พยากรณ์คุณภาพอากาศ 3 วัน จากแบบจำลองควบคู่ อุตุนิยมวิทยา-เคมี WRF-Chem

AQMRS

by Gistnorth
ระบบติดตามและรายงานสถานการณ์คุณภาพอากาศด้วยข้อมูลดาวเทียม (AQMRS) ความเข้มข้นเชิงพื้นที่ของฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน (PM2.5)

NTAQHI

by RIHES Developer
ดัชนีคุณภาพอากาศเชียงใหม่ พร้อมคำเตือนเพื่อลดความเสี่ยง จากผลกระทบของมลพิษ

AirCMI

by ปยป
ดัชนีคุณภาพอากาศ จากเครื่องวัดคุณภาพอากาศ กรมควบคุมมลพิษ และเครื่อง Dustboy

Air4Thai

by กรมควบคุมมลพิษ
รายงานสถานการณ์และคุณภาพอากาศประเทศไทย

FIRMS

by NASA
ระบบแสดงจุดสถานการณ์ไฟป่ารอบโลก ตามเวลาจริงโดยใช้ภาพถ่ายดาวเทียม

Others Website PM2.5

ผลการดำเนินงาน

รายงานการดำเนินงาน

คณะทำงานด้านวิชาการเพื่อสนับสนุนการแก้ไขปัญหาหมอกควันภาคเหนือ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
ปี 2566

รายงานการดำเนินงาน

คณะทำงานด้านวิชาการเพื่อสนับสนุนการแก้ไขปัญหาหมอกควันภาคเหนือ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
ปี 2565

AnyFlip LightBox Embed Demo

กิจกรรมเด่นและรายงานการดำเนินงาน

คณะทำงานด้านวิชาการเพื่อสนับสนุนการแก้ไขปัญหาหมอกควันภาคเหนือ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
ปี 2563

AnyFlip LightBox Embed Demo
AnyFlip LightBox Embed Demo

Scroll to Top