มช.
ครองอันดับ
1
ของประเทศไทย 3 ปีซ้อน
ด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิภากาศ SDG 13 Climate Action
เป็นมหาวิทยาลัยอันดับที่ 75 ของโลก
จากสถาบันอุดมศึกษาทั่วโลกทั้งสิ้น 2,152 แห่ง
เป็นมหาวิทยาลัยอันดับที่ 3 ของประเทศไทย
จากผลการจัดอันดับมหาวิทยาลัยระดับโลกที่สร้างผลกระทบสูงต่อสังคม
จัดอันดับโดย The Times Higher Education University Impact Rankings 2024
เกณฑ์การประเมินตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนแห่งสหประชาชาติ หรือ United Nations (UN)’s
news & event
ข่าวสารล่าสุด จาก Facebook Page
✨ขอแสดงความยินดีกับ CCDC: Climate Change Data Center ที่ได้รับรับรางวัล "NRCT AWARD" ผลงานวิจัยและนวัตกรรมตอบโจทย์ประเทศ เนื่องในโอกาสการสถาปนา วช. ครบรอบ 65 ปี ✨👏🏻 จัดโดย สำนักงานวิจัยแห่งชาติ (วช.) เพื่อยกย่องเชิดชูผลงานวิจัยและนวัตกรรมที่สามารถแก้ไขปัญหาสําคัญของประเทศได้อย่างทันท่วงที และก่อให้เกิดผลกระทบต่อเศรษฐกิจ สังคม ชุมชน สิ่งแวดล้อม การท่องเที่ยว รวมถึงศิลปะและวัฒนธรรม
เชิญร่วมฟังเสวนาฟรี ระดมสมอง สะท้อนปัญหาฝุ่นละออง PM 2.5 และหมอกควัน ร่วมหาแนวทางแก้ไขที่ถูกต้องและยั่งยืน สมาคมสื่อมวลชนเกษตรฯ จับมือ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ จัดเสวนา “ปัญหาฝุ่นละออง PM 2.5 สร้างความเข้าใจ สู่การแก้ไขอย่างยั่งยืน” ระดมความคิดนักวิชาการ เพื่อให้ความรู้ สร้างความเข้าใจที่ถูกต้อง สะท้อนปัญหาหมอกควันและฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM 2) สู่แนวทางและวิธีการแก้ปัญหาในอนาคตอย่างแม่นยําและยั่งยืน นายภิญโญ แพงไธสง นายกสมาคมสื่อมวลชนเกษตรแห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า จากสถานการณ์วิกฤตเรื่องปริมาณ hotspot และการเกิดหมอกควันและฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM2.5) ที่เกิดขึ้นเป็นประจำทุกปี โดยเฉพาะพื้นที่หลายจังหวัดในภาคเหนือของประเทศ ส่งผลกระทบต่อปัญหาสุขภาพเศรษฐกิจ และสังคมในวงกว้าง ประกอบกับการรับรู้ของภาคสังคมยังมีความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนจากการนําเสนอของสื่อโดยเฉพาะสื่อทางโซเชียล มีเดีย จนทำให้เกิดความเข้าใจผิดในหลายประเด็น ทั้งเรื่องสาเหตุที่เกิด ปัจจัยการเกิด และแหล่งที่เกิด (ในป่า/นอกป่า) รวมถึงกรณีฝุ่นควันข้ามแดนจากประเทศเพื่อนบ้าน ซึ่งปัญหานี้เกิดขึ้นต่อเนื่องสะสมมายาวนาน แต่ยังขาดการนําเสนอข้อมูล ความรู้ที่แท้จริงของปัญหา รวมไปถึงการหาแนวทางการแก้ปัญหาที่จะสามารถแก้ไขได้ตรงประเด็น และแก้ไขได้อย่างยั่งยืน ลดปัญหาและผลกระทบได้อย่างจริงจัง ปัญหาดังกล่าว มีความจําเป็นที่สังคมจะต้องรับรู้และเข้าใจถึงต้นตอของปัญหาที่แท้จริง เพื่อนำมาสู่แนวทางในการแก้ปัญหาได้ตรงจุด ถูกต้องและยั่งยืน โดยระดมความคิดจากนักวิชาการและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องโดยตรง สมาคมสื่อมวลชนเกษตรแห่งประเทศไทย จึงร่วมกับ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ จัดงานเสวนาขึ้น ในหัวข้อ “ปัญหาฝุ่นละออง” PM 2.5 สร้างความเข้าใจ สู่การแก้ไขอย่างยั่งยืน” ในวันอังคาร ที่ 22 ตลาคม 2567 เวลา 13.00. - 16.30 น. ณ ห้องประชุมสุธรรม อารียกุล อาคารสารนิเทศ 50 ปี ชั้น 1 มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บางเขน โดยในงานเสวนาครั้งนี้ ได้รับเกียรติจากนักวิชาการที่มีความรู้จริงและมีความน่าเชื่อถือ ประกอบด้วย อาจารย์ ดร.สุดเขต สกุลทอง จากมหาวิทยาลัยแม่โจ้ , ดร.สุรพล ใจวงศ์ษา หัวหน้าหน่วยวิจัยและพัฒนาด้านการบริหารเทคโนโลยีและนวัตกรรมการเกษตร คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา , ผศ.ดร.ชาคริต โชติอมรศักดิ์ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ , รศ.ดร.นันทชัย พงศ์พัฒนานุรักษ์ ภาควิชาชีววิทยาป่าไม้ คณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ , นายภานุเดช เกิดมะลิ ประธานมูลนิธิสืบนาคะเสถียร และนายเดโช ไชยทัพ ผู้อํานวยการมูลนิธิเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน (ภาคเหนือ) กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ สมัชชาองค์กรเอกชนด้านการคุ้มครองสิ่งแวดล้อมและอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ (สคส.) ดำเนินรายการโดย รศ.ดร.เจษฎา เด่นดวงบริพันธ์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยนักวิชาการและผู้เชี่ยวชาญเหล่านี้ จะร่วมนําเสนอข้อมูล แลกเปลี่ยนความคิดเห็น และร่วมตอบคําถามข้อสงสัย เพื่อสร้างการรับรู้และความเข้าใจที่ถูกต้อง ถ่ายทอดให้กับสังคม อันจะนําไปสู่แนวทางการแก้ปัญหาร่วมกันจากทุกภาคส่วนอย่างถูกต้องและยั่งยืนในอนาคต
📢 ศูนย์วิจัยมลพิษทางอากาศและผลกระทบต่อสุขภาพ ขอเชิญร่วมกิจกรรม Journal Club ครั้งที่ 1 ประจำปี 2567 ในหัวข้อ “ผลกระทบจากการเผาชีวมวลต่อคุณภาพอากาศและสุขภาพ” โดยรองศาสตราจารย์ ดร.สมพร จันทระ ประธานคณะทำงานด้านวิชาการเพื่อสนับสนุนการแก้ไขปัญหาหมอกควันภาคเหนือ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 🗓 วันที่: พฤหัสบดีที่ 10 ตุลาคม 2567 🕒 เวลา: 13:30-15:30 น. 📍 สถานที่: ห้องประชุมวิศวกรรมเครื่องกลและเมคาทรอนิกส์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ หรือผ่าน ZOOM Online 👉 ลงทะเบียนเข้าร่วม: https://forms.gle/6y37DGy7iCQD3SPj7 💻 Link ZOOM: https://thairen.zoom.us/j/62565405425 สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่: 📧 CALPSUTH@gmail.com 📞 โทร 074-287412 จัดโดย: ศูนย์วิจัยมลพิษทางอากาศและผลกระทบต่อสุขภาพ คณะวิศวกรรมศาสตร์ ม.อ. 🌿 รายละเอียดเพิ่มเติม https://air.psu.ac.th/en/news/66ffb950cfafc4c81f22e87f
ภาพบรรยากาศถนนเรียบเส้นน้ำปิงยามเย็นวันนี้ จังหวัดเชียงใหม่ หลังประสบอุทกภัยน้ำท่วม 💦 ซึ่งส่งผลกระทบทางอ้อมมาถึงมลพิษทางอากาศด้วย 🌪️ เมื่อ ‘น้ำลดโคลนผุด’ พบว่าปัญหานี้เชื่อมโยงกันกว่าที่คิด! 🌧️💨 อย่าลืมติดตามสถานการณ์และข้อมูลคุณภาพอากาศกับน้องฟ้าใสได้ตลอดนะคะ 💙 เป็นกำลังใจให้กับผู้ประสบอุทกภัยทุกท่านค่ะ 🙏 #น้ำท่วมเชียงใหม่ #อากาศเชียงใหม่ #น้องฟ้าใส
ตั้งข้อสังเกต! 🌊 หรือน้ำท่วมไม่ได้ทำลายแค่ถนนหรือบ้านเรือน แต่ยังส่งผลกระทบทางอ้อมมาถึงมลพิษทางอากาศ ?🌪️ ค่าฝุ่นที่สูงขึ้นจากผลพวงของภัยพิบัติทางน้ำ (น้ำลดโคลนผุด) บอกเลยว่าปัญหานี้เชื่อมโยงกันกว่าที่คิด! 🌧️💨 น้องฟ้าใส ใช้งานได้ตลอดน้าา เป็นกำลังใจให้ผู้ประสบอุทกภัยที่เกิดขึ้นทุกท่านค่ะ #น้ำท่วม #มลพิษทางอากาศ #ค่าฝุ่นPM #สิ่งแวดล้อม
📢 ฝุ่น PM2.5 กทม.กลับมาอีกแล้ว! 😷 เช้าวันนี้ เกินมาตรฐาน เริ่มกระทบสุขภาพ 16 พื้นที่! เช้าวันนี้ (8 ตุลาคม 2567) ฝุ่นละออง PM2.5 ในพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑลกลับมาพุ่งสูงเกินมาตรฐานอีกครั้ง โดยข้อมูลจากกรมควบคุมมลพิษระบุว่ามีถึง 16 พื้นที่ที่มีค่าฝุ่น PM2.5 อยู่ในระดับที่เริ่มส่งผลกระทบต่อสุขภาพ ประชาชนในพื้นที่ดังกล่าวได้รับคำเตือนให้หลีกเลี่ยงการทำกิจกรรมกลางแจ้ง และควรสวมหน้ากากอนามัยเพื่อป้องกันฝุ่นเมื่อจำเป็นต้องออกจากบ้าน ระดับค่าฝุ่น PM2.5 ในพื้นที่เหล่านี้เกินค่ามาตรฐานที่ 50 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร โดยเฉพาะในพื้นที่เขตบางซื่อ ลาดพร้าว บางคอแหลม และปทุมวัน มีค่าฝุ่นสูงขึ้นอย่างเห็นได้ชัด ขอให้ประชาชนติดตามสถานการณ์ฝุ่นละอองอย่างใกล้ชิดผ่าน Line Official @aircmu หรือแอปพลิเคชันหรือเว็บไซต์ของหน่วยงานรัฐที่เกี่ยวข้อง และเตรียมพร้อมปฏิบัติตามคำแนะนำอย่างเคร่งครัดเพื่อรักษาสุขภาพของตนเองและครอบครัว 💡 แนะนำให้ทุกคนหลีกเลี่ยงการทำกิจกรรมกลางแจ้ง และสวมหน้ากากอนามัยเมื่อจำเป็นต้องออกจากบ้าน โดยเฉพาะกลุ่มเสี่ยง เช่น เด็ก ผู้สูงอายุ และผู้ป่วยโรคทางเดินหายใจ ติดตามสถานการณ์ฝุ่นอย่างใกล้ชิดและดูแลสุขภาพกันด้วยนะคะ! 💨 #PM25 #ฝุ่นพิษ #สุขภาพ #กรุงเทพ #ใส่หน้ากาก
เขียนได้มีประเด็น ไฟป่าที่เกิดขึ้นเป็นประจำทุกปี อาจทำให้เกิดสารเหลวพวกไขมันหรือแวกซ์ เคลือบเป็นแผ่นอยู่ใต้ผิวดิน ทำให้ผืนดินในป่าไม่สามารถดูดซับน้ำได้เท่าที่ควร ทำให้เมื่อมีฝนตกหนักแม้ในพื้นที่ป่า ก็ทำให้น้ำไหลบ่าลงมาได้อย่างรวดเร็วโดยที่ดินอุ้มน้ำได้น้อยกว่าที่ควรจะเป็น ประเด็นนี้น่าค้นหาความจริงเป็นประเด็นวิจัยทางวิทยาศาสตร์ และเป็นประเด็นทางสังคมที่จะแก้ปัญหาให้มนุษย์หยุดการเผาทำลายป่าได้ให้มากที่สุด
📢 คณะทำงานด้านวิชาการเพื่อสนับสนุนการแก้ไขปัญหาหมอกควันภาคเหนือ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ร่วมงานประชุมวิชาการระดับนานาชาติ 🌍 เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2567 คณะทำงานด้านวิชาการฯ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้เข้าร่วมเป็นวิทยากรในงาน Conference on Reduction of Air Pollution through Avoidance of Burning in Agriculture ภายใต้หัวข้อ "Facilitate partnerships that scale viable alternatives to crop burning" โดยงานนี้จัดขึ้นร่วมกับสถานทูตเยอรมัน 🇩🇪 ฝรั่งเศส 🇫🇷 เนเธอร์แลนด์ 🇳🇱 และบราซิล 🇧🇷 รวมถึงองค์กรนานาชาติอย่าง UN ESCAP และ GIZ ในนาม Friends of Thai Agriculture ในงานนี้ รองศาสตราจารย์ ดร.สมพร จันทระ ประธานคณะทำงานฯ ได้รับเชิญเป็น Keynote Speaker นำเสนอในหัวข้อ “Biomass Burning and Air Quality: The Complex Path to Sustainable Solutions” พร้อมด้วย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.จิรวรรณ กิจชัยเจริญ ที่เข้าร่วมการประชุมด้วย 📅 วันที่ 1 ตุลาคม 2567 เวลา 8:30 น. - 17:00 น. 📍 สถานที่: โรงแรม Eastin Grand Phayathai การประชุมครั้งนี้เน้นย้ำถึงความสำคัญของการสร้างเครือข่ายความร่วมมือในการแก้ไขปัญหามลพิษทางอากาศอย่างยั่งยืนผ่านการลดการเผาในภาคเกษตร ซึ่งเป็นปัญหาสำคัญของภาคเหนือ 🌱🌏 #คณะทำงานด้านวิชาการเพื่อสนับสนุนการแก้ไขปัญหาหมอกควันภาคเหนือ #AcAirCMU #ศูนย์วิชาการเพื่อสนับสนุนการแก้ไขปัญหาหมอกควันภาคเหนือ #มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ #AcAirประชุมวิชาการ
ขอแสดงความยินดี💐 กับผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ภาสกร แช่มประเสริฐ รองผู้อำนวยการศูนย์บริหารจัดการเมืองอัจฉริยะ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่และคณะทำงานด้านวิชาการเพื่อสนับสนุนการแก้ไขปัญหาหมอกควันภาคเหนือมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เนื่องในโอกาสได้รับพระราชทานเหรียญรางวัลชนะเลิศจากสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี รางวัลบุคคลดีเด่น ประเภทวิชาการ ด้านการส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อม ประจำปี 2567 (Princess Health Award 2024) จัดโดย กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข
“มหกรรมส่งเสริมการใช้ประโยชน์จากงานวิจัยและนวัตกรรม ประจำปี 2567 (TRIUP Fair 2024)” จัดโดย สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) และหน่วยงานภาคี ซึ่งได้เรียนเชิญ สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) เป็นเจ้าภาพจัดแสดงผลงานวิจัยและนวัตกรรมในงานมหกรรมครั้งนี้ 🗓️ ในวันที่ 24-26 กันยายน ปี 2567 📌 ณ พารากอน ฮอลล์ ชั้น 5 ศูนย์การค้าสยามพารากอน กรุงเทพมหานครฯ งานดังกล่าว ศูนย์ภูมิภาคเพื่อการศึกษาด้านภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม (RCCES) นำโดย ผศ.ดร.ชาคริต โชติอมรศักดิ์ หัวหน้าศูนย์ภูมิภาคเพื่อการศึกษาด้านภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม และหนึ่งในคณะทำงานด้านวิชาการเพื่อสนับสนุนการแก้ไขปัญหาหมอกควันภาคเหนือ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ผู้แทนมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ Chiang Mai University ได้เข้าร่วมนำเสนอผลงานวิจัย #ระบบสนับสนุนการตัดสินใจในการบริหารจัดการเชื้อเพลิงชีวมวล #FireD ที่มีส่วนช่วยในการตัดสินใจบริหารจัดการเชื้อเพลิงชีวมวล โดยได้รวบรวมข้อมูลตรวจวัด ข้อมูลภาพถ่ายดาวเทียม และข้อมูลแบบจำลองคุณภาพอากาศ WRF-Chem พัฒนาออกมาในรูปแบบ เว็บแอปพลิเคชัน 🧑🏻💻โมบายแอปพลิเคชัน (IOS และ Android)📱 และ Line O/A สำหรับการจัดการเชื้อเพลิงชีวมวลที่เหมาะสม โดยมีกลุ่มผู้ใช้งานหลัก คือ ศูนย์บัญชาการป้องกันและแก้ไขปัญหาไฟป่าหมอกควัน และฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM2.5) จังหวัดเชียงใหม่ และหน่วยงานอื่นๆที่เกี่ยวข้อง โดยความคาดหวังของเรา คือ เกษตรและผู้ที่มีความจำเป็นในการใช้ไฟ มีทางออกหรือทางเลือกในการจัดการเชื้อเพลิงชีวมวล และเป็นประโยชน์ต่อการตัดสินใจในการบริหารจัดการเชื้อเพลิงต่อผู้มีอำนาจตัดสินใจ เพื่อหาแนวทางลดการใช้ไฟจนนำไปสู่การลดปริมาณฝุ่น PM2.5 ได้อย่างเป็นรูปธรรม #RCCES #TRIUPFair2024 #FireD #คณะทำงานด้านวิชาการเพื่อสนับสนุนการแก้ไขปัญหาหมอกควันภาคเหนือ #AcAirCMU #คณะทำงานด้านวิชาการเพื่อสนับสนุนการแก้ไขปัญหาหมอกควันภาคเหนือ #ศูนย์วิชาการเพื่อสนับสนุนการแก้ไขปัญหาหมอกควันภาคเหนือ #มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
▫️◽️💜มช. รวมน้ำใจ ช่วยผู้ประสบภัยน้ำท่วม . มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ขอเชิญร่วมบริจาคช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วม . สามารถลดหย่อนภาษีได้ 1 เท่า . ✅ การบริจาคเงินช่วยเหลือ สามารถทำได้ 2 วิธี . 🔸1.โอนเงินบริจาคเข้าบัญชี มูลนิธิพัฒนามหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เลขที่บัญชี 667-260962-6 และส่งสลิปการโอนเงินได้ที่ - Facebook Page : มูลนิธิพัฒนามหาวิทยาลัยเชียงใหม่ - Line ID : foundation.cmu . 🔸2. Scan QR Code ข้อมูลการบริจาคจะส่งไปที่กรมสรรพากรโดยตรง เพื่อลดหย่อนภาษี ไม่ต้องใช้ใบเสร็จรับเงิน . 📲☎️สอบถามรายละเอียดได้ที่ โทร. 053-943-499
✨ขอแสดงความยินดีกับ CCDC: Climate Change Data Center ที่ได้รับรางวัลรองชนะเลิศ รางวัลนวัตกรรมแห่งชาติ ด้านสังคมและสิ่งแวดล้อม ผลงานเครือข่ายเครื่องตรวจวัดคุณภาพอากาศ DustBoy ช่วยแก้ปัญหา PM2.5 ระดับชุมชน ✨👏🏻 เครื่องตรวจวัดคุณภาพอากาศด้วยระบบเซ็นเซอร์ Dustboy มีการติดตั้งมากกว่า 700 จุดทั่วประเทศไทยเพื่อให้ประชาชนสามารถเข้าถึงข้อมูลคุณภาพอากาศในพื้นที่ของตัวเองได้อย่างทั่วถึงมากยิ่งขึ้น สามารถเข้าไปเช็คค่าฝุ่น PM2.5 และ ในพื้นที่ของตัวเองหรือใกล้เคียงได้ผ่านเว็บไซต์ 🌏 CMU CCDC : https://ift.tt/wrDSidL
บรรยากาศงานเสวนาในวันอากาศสะอาดโลก UNMASK THE FUTURE Panel 4 หัวข้อ: อากาศของเรา สิทธิของเราทางเลือกของเรา อนาคตของเรา(Our Air, Our Right, Our Choice, Our Future) โดย ผ.ศ.ว่าน วิริยา ภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และผู้ช่วยหัวหน้าศูนย์วิจัยวิทยาศาสตร์สิงแวดล้อมฝ่ายกิจกรรมสัมพันธ์ และ เป็นผู้ริเริ่มกลุ่มต้นกล้าท้าหมอกควัน Environmental Science Research Center #ESRC หนึ่งในคณะทำงานด้านวิชาการเพื่อสนับสนุนการแก้ไขปัญหาหมอกควันภาคเหนือ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
คณะทำงานด้านวิชาการเพื่อสนับสนุนการแก้ไขปัญหาหมอกควันภาคเหนือ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ในนามตัวแทนมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ Chiang Mai University ยินดีเป็นอย่างยิ่งที่คุณเชอรรี่ เข็มอัปสร สิริสุขะ Cherry Khemupsorn Fanpage ได้ให้ความสนใจเข้ามาเยี่ยมชมนิทรรศการองค์ความรู้หลักสูตรอบรมด้านการจัดการมลพิษทางอากาศและนวัตกรรม พร้อมทััง ติดตามการพยากรณ์คุณภาพอากาศ Line official @AirQuaalitybyCMU นวัตกรรมเครื่องฟอกอากาศEco และนวัตกรรมโครงการของน้องๆเยาวชนต้นกล้าท้าหมอกควันที่ได้นำมาจัดแสดงในงาน Unmask the future อากาศสะอาด เพื่ออนาคตของทุกลมหายใจ 🗓️ วันที่ 8 กันยายน 2567 ⏰ ตั้งแต่เวลา 8:00 - 18:00 น. 🌳 ณ ชั้น 1 หอจดหมายเหตุพุทธทาส อินทปัญโญ (สวนโมกข์ กรุงเทพฯ) . จัดโดย เครือข่ายอากาศสะอาด ประเทศไทย และองค์กรภาคี
📣 น้องๆต้นกล้าท้าหมอกจะพาเพลง "ลมหายใจเดียวกัน" ไปช่วยกันร้องนะครับ ☁️ Unmask the future อากาศสะอาด เพื่ออนาคตของทุกลมหายใจ ✨ กิจกรรมร่วมประสบการณ์ลมหายใจเดียวกันในวันอากาศสะอาดโลก (International Day of Clean Air for Blue Skies) “ถอดหน้ากาก (สู่) อนาคต (UNMASK THE FUTURE)” พบกับบูธนิทรรศการของคณะทำงานเพื่อสนับสนุนการแก้ไขปัญหาหมอกควันภาคเหนือ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และกิจกรรมอื่นๆอีกมากมายภายในงาน 🗓️ วันอาทิตย์ที่ 8 กันยายน 2567 ⏰ ตั้งแต่เวลา 8:00 - 18:00 น. 🌳 ณ ชั้น 1 หอจดหมายเหตุพุทธทาส อินทปัญโญ (สวนโมกข์ กรุงเทพฯ) 08.00-8.30 น. ลงทะเบียน เชิญชวนเดินไปที่สวนด้านนอกของสวนโมกข์ 08.30-9.00 น. “ลมหายใจเดียวกัน” GROUNDING Opening Event : ชวนทุกคน กอดธรรมชาติ รับพลังต้นไม้ อ่านนิทานร่วมกัน ‘ในวันที่เรามีอากาศดี ๆ ไว้หายใจ’ (Another Breath to Live) https://drive.google.com/.../1423E0vI.../view 9.00-10.30 น. Panel 1 หัวข้อ : กฎหมายกับศาสนา : หลักคำสอนทางศาสนาเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์ ธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม” อากาศสะอาด และกฎหมาย 10.30-12.00 น. Panel 2 หัวข้อ : การตายก่อนวัยอันควร (Premature Death) กับ อากาศสะอาดเพื่อความยั่งยืนและอายุยืน : สองเรื่องในกฎหมายอากาศสะอาดที่แยกออกจากกันไม่ได้ 12.00-13.00 น. - ฟังดนตรีโดยกลุ่มศิลปินผู้พิการทางสายตา ***ECO LUNCH WITH Pearypie x เคี้ยวเขียว + ป้าตุ๊ยำผัก 4 ธาตุ 13.00-14.00 น. Panel 3 หัวข้อ : “ขอพรบ.อากาศสะอาด ที่นึง” กับ “เราจะได้พรบ. อากาศสะอาดแบบไหน? และกี่โมง?” 14.00-15.00 น. ⬥ ดนตรีโดยกลุ่มต้นกล้าท้าหมอกควัน Panel 4 หัวข้อ : “อากาศของเรา สิทธิของเรา ทางเลือกของเรา อนาคตของเรา (Our Air, Our Right, Our Choice, Our Future 15.00-16.30 น. ⬥เปิดวงด้วยเพลงชีวิตสัมพันธ์ และศิลปินร่วมวาดรูปสด Panel 5 Art talk กับ ศิลปินเพื่ออากาศสะอาด SENSORY and ART 16.30-18.00 น. Closing Session “ให้บทเพลงมันเล่าเรื่อง : หลากอารมณ์ หลายความหวังและความคาดหวัง เพื่อถอดหน้ากาก (สู่) อนาคต” ร่วมชมนิทรรศการ และบูธภาคี ลมหายใจเดียวกันได้ตลอดวัน - นิทรรศการ 'พลังจมูก' ทวงสิทธิเพื่ออากาศสะอาด ผลงานโดย ธนวัต มณีนาวา แห่ง TAM:DA - นิทรรศการ 'ลมหายใจ' ภาพถ่ายโดย คุณโชคชัย อัศวกาญจนกิจ ช่างทองแห่ง Mystic Gold - Group Graffiti Painting on fabric โดย Greenpeace Southeast - ความหลากหลายทางนิเวศ โดย Tinniyom Selected ร่วมด้วย Pearypie: Make-up Artist/Theatrical Artist - ‘ในวันที่เรามีอากาศดี ๆ ไว้หายใจ’ (Another Breath to Live) มุมหนังสือนิทานสิ่งแวดล้อม - ร่วมสัมผัสประสบการณ์อากาศสะอาด "SENSORY SPACE" โดย Poonsuk Planet - Law Lab for Clean Air กิจกรรมเชิงปฏิสัมพันธ์ชวนร่วมลงชื่อเพื่ออากาศสะอาด - บริษัทแชนเล่อร์ MHM จำกัด ร่วมให้คำปรึกษากฎหมาย - งานวิจัยเรื่องเครื่องมือวิทยาศาสตร์ในการแก้ปัญหามลพิษทางอากาศ - นิทรรศการ ประกอบกับการ CPR AED ผลกระทบ pm 2.5 ที่มีต่อสุขภาพประชาชน ร่วมอุดหนุนตลาด #กินอยู่รู้ที่มา จำหน่ายสินค้าอาหาร และผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ร่วมด้วย ป้าตุ๊ ยำผัก 4 ธาตุ / สวนป่ามะพร้าวลุงวิท / สวนย่าชุเกษตรธรรมชาติ / เครือข่ายเกษตรอู่ทอง สุพรรณบุรี / Shortcut Organic / ขนมพยักหมอก / Flo Wolffia ไอติมไข่ผำ / เพื่อนป่า / ปันกันกรีน ผลิตภัณฑ์ดูแลกาย ดูแลบ้าน จัดโดย เครือข่ายอากาศสะอาด ประเทศไทย และองค์กรภาคี ลงทะเบียนจับจองพื้นที่ ฟรี !! https://forms.gle/FGnpYkKpcCi7tDBa6 #UnmaskTheFuture #CleanAirAct #พรบอากาศสะอาด #CleanAirForAll #สิทธิในอากาศสะอาด #InternationalCleanAirDay #ThailandCleanAirNetwork #ThailandCAN #เครือข่ายอากาศสะอาด #Right2CleanAir #AcAirนิทรรศการ2567 #ต้นกล้าหมอกควัน https://youtu.be/kKSoOLgRqbM?si=6nlIKD7HXgh8e3G4
คณะทำงานด้านวิชาการเพื่อสนับสนุนการแก้ไขปัญหาหมอกควันภาคเหนือ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ นำโดย รองศาสตราจารย์ ดร.สมพร จันทระ ดำเนินการให้สัมภาษณ์วีดิทัศน์ ความโดดเด่นของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ด้าน Digital Transformation โดยมีส่วนร่วมในการร่วมกับสถาบันคลังสมอง การนำเสนอในวีดิทัศน์นี้จะมุ่งเน้นถึงการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อสนับสนุนการแก้ไขปัญหาหมอกควัน เช่น การพัฒนาระบบการติดตามและการวิเคราะห์ข้อมูลคุณภาพอากาศ การใช้เครื่องมือดิจิทัลในการสร้างความตระหนักรู้ที่สามารถนำไปใช้จริงในชุมชน 📅เมื่อวันที่ 3 กันยายน 2567 เวลา: 13 00 น. - 14 00 น. 📌สถานที่: ณ ห้องประชุมศูนย์วิจัยวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม ชั้น 7 อาคาร 30 ปี คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โดยมีผู้เข้าร่วม ดังนี้ : รองศาสตราจารย์ ดร.สมพร จันทระ ประธานคณะทำงานฯ, นางสาวพิชามญชุ์ สุเดชา เลขานุการคณะทำงานฯ, นางสาวยศยา สุทธภักติ ผู้ช่วยเลขานุการฯ, นางสาว สุภาวัลย์ ปาลี ผู้ช่วยเลขานุการฯ, เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง, หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง #คณะทำงานด้านวิชาการเพื่อสนับสนุนการแก้ไขปัญหาหมอกควันภาคเหนือ #AcAirCMU #คณะทำงานด้านวิชาการเพื่อสนับสนุนการแก้ไขปัญหาหมอกควันภาคเหนือ #ศูนย์วิชาการเพื่อสนับสนุนการแก้ไขปัญหาหมอกควันภาคเหนือ #มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ #AcAirสัมภาษณ์ #AcAirสัมภาษณ์2567"
คณะทำงานด้านวิชาการเพื่อสนับสนุนการแก้ไขปัญหาหมอกควันภาคเหนือ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เข้าร่วมเป็นวิทยากเสวนา "ขับเคลื่อนมหาวิทยาลัยไทยสู่มหาวิทยาลัยดิจิทัล กรณีศึกษามหาวิทยาลัยเชียงใหม่"ร่วมกับสถาบันคลังสมองของชาติ เมื่่อวันที่ 2 กันยายน 2567 เวลา: 11 00 น. - 11 45 น. สถานที่: ณ ห้องประชุมดอยสุเทพ 1 โรงแรมแคนทารี ฮิลล์ เชียงใหม่ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่นำโดย ศาสตราจารย์ ดร.นพ.พงษ์รักษ์ ศรีบัณฑิตมงคล อธิการบดีมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ประธานเปิดกิจกรรมเสวนาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ในโครงการขับเคลื่อนมหาวิทยาลัยไทยสู่มหาวิทยาลัยดิจิทัล กรณีศึกษามหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โดยมี รองศาสตราจารย์ ดร.สมพร จันทระ ประธานคณะทำงานฯ เข้าร่วมเป็นวิทยากรเสวนา "ขับเคลื่อนมหาวิทยาลัยไทยสู่มหาวิทยาลัยดิจิทัล กรณีศึกษามหาวิทยาลัยเชียงใหม่" ในหัวข้อ งานวิจัยและนวัตกรรมเพื่อการรับมือและแก้ไขปัญหามลพิษทางอากาศอย่างยั่งยืน ซึ่งจัดโดย สถาบันคลังสมองของชาติ #คณะทำงานด้านวิชาการเพื่อสนับสนุนการแก้ไขปัญหาหมอกควันภาคเหนือ #AcAirCMU #คณะทำงานด้านวิชาการเพื่อสนับสนุนการแก้ไขปัญหาหมอกควันภาคเหนือ #ศูนย์วิชาการเพื่อสนับสนุนการแก้ไขปัญหาหมอกควันภาคเหนือ #มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ #AcAirวิทยากรเสวนา #AcAirวิทยากรเสวนา2567"
📣 แอดมินน้องฟ้าใสเชิญชวนร่วมกิจกรรม ☁️ Unmask the future อากาศสะอาด เพื่ออนาคตของทุกลมหายใจ ✨ กิจกรรมร่วมประสบการณ์ลมหายใจเดียวกันในวันอากาศสะอาดโลก (International Day of Clean Air for Blue Skies) “ถอดหน้ากาก (สู่) อนาคต (UNMASK THE FUTURE)” พบกับบูธนิทรรศการของคณะทำงานเพื่อสนับสนุนการแก้ไขปัญหาหมอกควันภาคเหนือ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และกิจกรรมอื่นๆอีกมากมายภายในงาน 🗓️ วันอาทิตย์ที่ 8 กันยายน 2567 ⏰ ตั้งแต่เวลา 8:00 - 18:00 น. 🌳 ณ ชั้น 1 หอจดหมายเหตุพุทธทาส อินทปัญโญ (สวนโมกข์ กรุงเทพฯ) 08.00-8.30 น. ลงทะเบียน เชิญชวนเดินไปที่สวนด้านนอกของสวนโมกข์ 08.30-9.00 น. “ลมหายใจเดียวกัน” GROUNDING Opening Event : ชวนทุกคน กอดธรรมชาติ รับพลังต้นไม้ อ่านนิทานร่วมกัน ‘ในวันที่เรามีอากาศดี ๆ ไว้หายใจ’ (Another Breath to Live) https://drive.google.com/.../1423E0vI.../view 9.00-10.30 น. Panel 1 หัวข้อ : กฎหมายกับศาสนา : หลักคำสอนทางศาสนาเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์ ธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม” อากาศสะอาด และกฎหมาย 10.30-12.00 น. Panel 2 หัวข้อ : การตายก่อนวัยอันควร (Premature Death) กับ อากาศสะอาดเพื่อความยั่งยืนและอายุยืน : สองเรื่องในกฎหมายอากาศสะอาดที่แยกออกจากกันไม่ได้ 12.00-13.00 น. - ฟังดนตรีโดยกลุ่มศิลปินผู้พิการทางสายตา ***ECO LUNCH WITH Pearypie x เคี้ยวเขียว + ป้าตุ๊ยำผัก 4 ธาตุ 13.00-14.00 น. Panel 3 หัวข้อ : “ขอพรบ.อากาศสะอาด ที่นึง” กับ “เราจะได้พรบ. อากาศสะอาดแบบไหน? และกี่โมง?” 14.00-15.00 น. ⬥ ดนตรีโดยกลุ่มต้นกล้าท้าหมอกควัน Panel 4 หัวข้อ : “อากาศของเรา สิทธิของเรา ทางเลือกของเรา อนาคตของเรา (Our Air, Our Right, Our Choice, Our Future 15.00-16.30 น. ⬥เปิดวงด้วยเพลงชีวิตสัมพันธ์ และศิลปินร่วมวาดรูปสด Panel 5 Art talk กับ ศิลปินเพื่ออากาศสะอาด SENSORY and ART 16.30-18.00 น. Closing Session “ให้บทเพลงมันเล่าเรื่อง : หลากอารมณ์ หลายความหวังและความคาดหวัง เพื่อถอดหน้ากาก (สู่) อนาคต” ร่วมชมนิทรรศการ และบูธภาคี ลมหายใจเดียวกันได้ตลอดวัน - นิทรรศการ 'พลังจมูก' ทวงสิทธิเพื่ออากาศสะอาด ผลงานโดย ธนวัต มณีนาวา แห่ง TAM:DA - นิทรรศการ 'ลมหายใจ' ภาพถ่ายโดย คุณโชคชัย อัศวกาญจนกิจ ช่างทองแห่ง Mystic Gold - Group Graffiti Painting on fabric โดย Greenpeace Southeast - ความหลากหลายทางนิเวศ โดย Tinniyom Selected ร่วมด้วย Pearypie: Make-up Artist/Theatrical Artist - ‘ในวันที่เรามีอากาศดี ๆ ไว้หายใจ’ (Another Breath to Live) มุมหนังสือนิทานสิ่งแวดล้อม - ร่วมสัมผัสประสบการณ์อากาศสะอาด "SENSORY SPACE" โดย Poonsuk Planet - Law Lab for Clean Air กิจกรรมเชิงปฏิสัมพันธ์ชวนร่วมลงชื่อเพื่ออากาศสะอาด - บริษัทแชนเล่อร์ MHM จำกัด ร่วมให้คำปรึกษากฎหมาย - งานวิจัยเรื่องเครื่องมือวิทยาศาสตร์ในการแก้ปัญหามลพิษทางอากาศ - นิทรรศการ ประกอบกับการ CPR AED ผลกระทบ pm 2.5 ที่มีต่อสุขภาพประชาชน ร่วมอุดหนุนตลาด #กินอยู่รู้ที่มา จำหน่ายสินค้าอาหาร และผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ร่วมด้วย ป้าตุ๊ ยำผัก 4 ธาตุ / สวนป่ามะพร้าวลุงวิท / สวนย่าชุเกษตรธรรมชาติ / เครือข่ายเกษตรอู่ทอง สุพรรณบุรี / Shortcut Organic / ขนมพยักหมอก / Flo Wolffia ไอติมไข่ผำ / เพื่อนป่า / ปันกันกรีน ผลิตภัณฑ์ดูแลกาย ดูแลบ้าน จัดโดย เครือข่ายอากาศสะอาด ประเทศไทย และองค์กรภาคี ลงทะเบียนจับจองพื้นที่ ฟรี !! https://forms.gle/FGnpYkKpcCi7tDBa6 #UnmaskTheFuture #CleanAirAct #พรบอากาศสะอาด #CleanAirForAll #สิทธิในอากาศสะอาด #InternationalCleanAirDay #ThailandCleanAirNetwork #ThailandCAN #เครือข่ายอากาศสะอาด #Right2CleanAir #AcAirนิทรรศการ2567
✨พาชมบรรยากาศการแข่งขันค่ายเยาวชนต้นกล้าท้าหมอกควัน : Smogathon ปีที่ 7 ประจำปี 2567 รอบชิงชนะเลิศ✨ เมื่อวันที่ 15-16 สิงหาคม 2567 ที่ผ่านมา การแข่งขันค่ายเยาวชนต้นกล้าท้าหมอกควัน : Smogathon ปีที่ 7 ได้จัดขึ้นอย่างยิ่งใหญ่ภายใต้งานประชุมวิชาการและแลกเปลี่ยนเรียนรู้การประเมินผลกระทบด้านสุขภาพ (HIA FORUM) ประจำปี 2567 “เมืองสุขภาพดี ชีวีมีสุข ด้วย HIA” ณ โรงแรมเชียงใหม่แกรนด์วิว โดยภายในงานมีการจัดบูธนิทรรศการเพื่อแสดงผลงานนวัตกรรมที่มุ่งเน้นการป้องกัน แก้ไข และลดผลกระทบต่อสุขภาพจากปัญหาหมอกควัน PM2.5 ตัวแทนเยาวชนจากพื้นที่ภาคเหนือตอนบนได้เข้าร่วมระดมความคิดและพัฒนานวัตกรรมเพื่อแก้ไขปัญหาหมอกควันอย่างยั่งยืน ซึ่งภายในงานได้มีการจัดบูะนิทรรศการแสดงผลงานนวัตกรรมทั้งหมด 11 ผลงาน โดยแต่ละผลงานล้วนมีความคิดสร้างสรรค์และมุ่งเน้นไปที่การปรับปรุงคุณภาพชีวิตของชุมชนที่ได้รับผลกระทบจากปัญหามลพิษทางอากาศอย่างจริงจัง ดังนี้ 🪷 1.นวัตกรรมแผ่นกรองฝุ่นจากเส้นใยบัว (Innovative Dust filter from lotus fibers : Filtus) โดยทีม Potachos จากโรงเรียนวชิรวิทย์เชียงใหม่ 💨 2.เครื่องดูดควันธูป (Innovative incense hood) โดยทีม I am young pookpun in lampang จากโรงเรียนบุญวาทย์วิทยาลัย 🌽 3.แผ่นกรองอากาศจากเส้นใยเปลือกข้าวโพดผสมสารสกัดจากใบฝรั่ง (Air filter from corn husks with guava leaf extract) โดยทีม ENFP MPP จากโรงเรียนเมืองปานพัฒนวิทย์ 🏺4.การพัฒนาสมบัติโฟโตแคตาไลติกบนผิวกระเบื้องเซรามิกเพื่อดักจับฝุ่น pm2.5 ด้วยไทเทเนียมออกไซด์ (Ceramic discs trap dust) โดยทีมไอจามมาจากฝุ่น ไออุ่นมาจากลำปาง จากโรงเรียนบุญวาทย์วิทยาลัย 〰️ 5.นวัตกรรมคลื่นเสียงผจญเพลิง (Fire extinguisher by sound waves) โดยทีม YRC Fight for fresh จากโรงเรียนยุพราชวิทยาลัย 🏢 6.การพัฒนาระบบกรองอากาศในห้องแรงดันบวก ณ หอพักแม่เหี๊ยะ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (Development of ventilation system in positive pressure room at marhia dormitory of Chiang Mai University) โดยทีม Pseudochiang mai จากโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 🧢 7.นวัตกรรมหมวกกรองฝุ่น (Pure cap) โดยทีม Pureposphere จากโรงเรียนสามัคคีวิทยาคม 🏫 8. เครื่องกรองฝุ่นไอเย็น (Cooler dust filter) โดยทีม Breath SK จากโรงเรียนสันทรายวิทยาคม ☕ 9. กระดาษกรองกาแฟและชา ต้นทุนต่ำ ลดไขมัน (Low cost-lesterol dipper) โดยทีม CDW Deadline Lover จากโรงเรียนเชียงดาววิทยาคม 🌽 10. เครื่องกรองอากาศด้วยระบบ ESP และแผ่นกรองอากาศจากเส้นใยต้นข้าวโพด (Air filter with ESP system amd air filter from corn fibers) โดยทีม Renatural absorb จากโรงเรียนแม่สายประสิทธิ์ศาสตร์ 🌾 11. มุ้งกรองฝุ่น pm2.5 ประดิษฐ์จากเส้นใยนาโนเซลลูโลสจากฟางข้าว pm2.5 dust filter made from nano-cellulose fibers from rice straw โดยทีม ฝุ่นเต็มปอดเธอบอกสวดมนต์ จากโรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย เชียงราย สำหรับทีมที่ได้รับรางวัลชนะเลิศการแข่งขันค่ายเยาวชนต้นกล้าท้าหมอกควัน : Smogathon ปีที่ 7 ประจำปี 2567 ในครั้งนี้ ซึ่งได้รับถ้วยพระราชทานสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ได้แก่ทีม "CDW Deadline Lover" จากโรงเรียนเชียงดาววิทยาคม ซึ่งนำเสนอนวัตกรรม "กระดาษกรองกาแฟและชา ต้นทุนต่ำ ลดไขมัน" หรืออีกชื่อหนึ่งคือ Low cost-lesterol dipper จากวัสดุเศษเหลือจากการทำการเกษตรในพื้นที่ตำบลเมืองนะ อำเภอเชียงดาว ซึ่งข้าวโพด จัดเป็นพืชการเกษตรหลักในพื้นที่ศึกษาที่ทางทีมให้ความสนใจ ในงานนี้ยังได้รับเกียรติจาก คุณลิสา เอ. บูเจนนาส กงศุลใหญ่ สถานกงศุลใหญ่สหรัฐอเมริกา เชียงใหม่ รองศาสตราจารย์ ดร.สมพร จันทระ หัวหน้าศูนย์วิจัยวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม คณะวิทยาศาสตร์ และประธานคณะทำงานด้านวิชาการเพื่อสนับสนุนการแก้ไขปัญหาหมอกควันภาค้หนือ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ รองศาสตราจารย์ ดร.เศรษฐ์ สัมภัตตะกุล หัวหน้าหน่วยวิจัยเพื่อการจัดการพลังงานและเศรษฐนิเวศ สถาบันวิจัยพหุศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ คุณสุรพงษ์ พรรณ์วงษ์ เจ้าหน้าที่พัฒนาเครือข่ายอาวุโส ThaiPBS และผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ว่าน วิริยา คณะทำงานด้านวิชาการเพื่อสนับสนุนการแก้ไขปัญหาหมอกควันภาคเหนือ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และหัวหน้าโครงการฯ ผู้ทรงคุณวุฒิทั้ง 5 ท่านเข้าร่วมเป็นกรรมการตัดสิน โดยการให้คะแนนการจัดบูธนิทรรศการแสดงผลงานของน้องๆ การแข่งขันค่ายเยาวชนต้นกล้าท้าหมอกควัน : Smogathon ปีที่ 7 ประจำปี 2567 ที่ประสบความสำเร็จอย่างงดงามนี้ เป็นผลมาจากความร่วมมือและการสนับสนุนจากหลายหน่วยงานที่สำคัญ ขอขอบพระคุณมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ผู้สนับสนุนหลัก ที่ได้มอบความช่วยเหลือต่างๆ อย่างเต็มที่ นอกจากนี้ ขอขอบพระคุณศูนย์วิจัยวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม คณะวิทยาศาสตร์ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ สถานกงศุลใหญ่สหรัฐอเมริกา เชียงใหม่ บริษัท อินโนเวทีฟ อินสทรูเมนต์ จำกัด สิงห์อาสา ในนามของบริษัท บุญรอดบริวเวอรี่ จำกัด ไทยพีบีเอส (Thai PBS) สำนักงานจังหวัดเชียงใหม่ และสภาลมกายใจภาคเหนือ รวมถึงหน่วยงานต่างๆ จากหลากหลายภาคส่วนที่มีส่วนสำคัญในการสนับสนุนและผลักดันให้กิจกรรมครั้งนี้ประสบความสำเร็จอย่างยั่งยืน การสนับสนุนอย่างทุ่มเทจากทุกภาคส่วนได้ช่วยสร้างแรงบันดาลใจให้เยาวชนได้แสดงศักยภาพในการสร้างสรรค์นวัตกรรมเพื่อลดปัญหาหมอกควันในอนาคต #ต้นกล้าท้าหมอกควัน2567 #AcAirCMU #AcAirSmogathon #คณะทำงานด้านวิชาการเพื่อสนับสนุนการแก้ไขปัญหาหมอกควันภาคเหนือ #ศูนย์วิชาการเพื่อสนับสนุนการแก้ไขปัญหาหมอกควันภาคเหนือ #มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
🔹ภาพบรรยากาศเวทีเสวนา “การแก้ปัญหาหมอกควัน ทางออกอยู่ที่ไหน” ภายในงานประชุมวิชาการและแลกเปลี่ยนเรียนรู้การประเมินผลกระทบด้านสุขภาพ (HIA FORUM) ประจำปี 2567 “เมืองสุขภาพดี ชีวีมีสุข ด้วย HIA”🔹 รองศาสตราจารย์ ดร.สมพร จันทระ ประธานคณะทำงานด้านวิชาการเพื่อสนับสนุนการแก้ไขปัญหาหมอกควันภาคเหนือ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้รับเชิญร่วมเวทีเสวนา “การแก้ปัญหาหมอกควัน ทางออกอยู่ที่ไหน” ร่วมกับ นางสาวลักขณา ไชยคำ ผู้ใหญ่บ้านบ้านปางยาง อ.สะเมิง จ.เชียงใหม่ นายสุภพ กันธิมา ปลัดเทศบาลตำบลแม่นะ อ.เชียงดาว จ.เชียงใหม่ นางสาวนัยนา ใช้เทียมวงศ์ ผู้อำนวยการกองประเมินผลกระทบต่อสุขภาพ กรมอนามัย สธ. และนางสาวสุรีรัตน์ ตรีมรรคา เลขานุการคณะทำงานสภาลมหายใจเชียงใหม่ ตัวแทนจากหน่วยงานภาคส่วนต่างๆ ที่มาร่วมแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในการหาทางออกจากปัญหาหมอกควันที่กระทบต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อมอย่างรุนแรงในพื้นที่ภาคเหนือ ดำเนินรายการโดย อาจารย์ไพสิฐ พาณิชย์กุล ผู้ช่วยอธิการบดีมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เวทีเสวนานี้ได้รับความสนใจจากทั้งภาครัฐ นักวิชาการ ตัวแทนชุมชน และองค์กรสิ่งแวดล้อมต่างๆ ที่ได้มาร่วมเสนอแนวทางในการป้องกันและแก้ไขปัญหาหมอกควันซึ่งมักเกิดขึ้นในช่วงฤดูแล้ง โดยเฉพาะในภาคเหนือของประเทศไทย การแก้ปัญหาหมอกควันอย่างยั่งยืนนั้นจำเป็นต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกภาคส่วน ทั้งการบังคับใช้กฎหมายที่มีประสิทธิภาพ การพัฒนานโยบายที่ตอบโจทย์ และการปลูกจิตสำนึกให้ประชาชนเห็นความสำคัญของสิ่งแวดล้อม ถือเป็นความท้าทายที่ทุกฝ่ายต้องเผชิญร่วมกัน แต่หากทุกคนร่วมมือกันอย่างจริงจัง ปัญหานี้ก็จะสามารถแก้ไขได้ในอนาคต สามารถรับชมย้อนหลังผ่านทางเพจ สช. สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ >> https://www.facebook.com/share/v/NeXhcaRgB84e7MUb/ 🗓 วันที่ 16 สิงหาคม 2567 ⏰เวลา 13.15 - 15.00 น. 📍ณ โรงแรมเชียงใหม่แกรนด์วิว #HIA #HIAFORUM #การประเมินผลกระทบด้านสุขภาพ #เมืองสุขภาพดีชีวีมีสุขด้วยHIA #เชียงใหม่ #AcAirCMU #AcAirวิทยากร2567 #คณะทำงานด้านวิชาการเพื่อสนับสนุนการแก้ไขปัญหาหมอกควันภาคเหนือ #ศูนย์วิชาการเพื่อสนับสนุนการแก้ไขปัญหาหมอกควันภาคเหนือ #มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
วันที่ 15-16 สิงหาคม 2567 นี้เตรียมพบกับ การแข่งขันค่ายเยาวชนต้นกล้าท้าหมอกควัน : Smogathon ปีที่ 7 ประจำปี 2567 รอบชิงชนะเลิศ ชิงถ้วยรางวัลพระราชทานสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เชิญชวนเยี่ยมชมบูธนิทรรศการแสดงผลงานนวัตกรรมจากน้องๆ ทั้ง 11 ทีมที่ผ่านการ pitching ไอเดียในรอบค่ายฯ ที่ผ่านมานั้น หลังจากที่ได้นำแนวคิดกลับไปต่อยอดและลงพื้นที่สร้างชิ้นงานขึ้นมา น้องๆได้นำผลงานมาจัดแสดงและแข่งขันกันต่อในรอบชิงชนะเลิศ ภายในการประชุมวิชาการแลกเปลี่ยนเรียนรู้การประเมินผลกระทบด้านสุขภาพ ประจำปี 2567 (National Health Impact Assessment Forum 2024 : HIA Forum 2024) 🗓 วันที่ 15-16 สิงหาคม 2567 🕙ตั้งแต่เวลา 10.00 น. เป็นต้นไป 📍ณ โรงแรมเชียงใหม่แกรนด์วิว จังหวัดเชียงใหม่ 🪷 1.นวัตกรรมแผนกรองฝุ่นจากใยบัว : Filtus โดยทีม Potachos จากโรงเรียนวชิรวิทย์เชียงใหม่ 💨 2.เครื่องดูดควันธูป : Innovative incense hood โดยทีม I am young pookpun in lampang จากโรงเรียนบุญวาทย์วิทยาลัย 🌽 3.แผ่นกรองอากาศจากเส้นใยเปลือกข้าวโพดผสมสารสกัดจากใบฝรั่ง : Air filter from corn husks with guava leaf extract โดยทีม ENFP MPP จากโรงเรียนเมืองปานพัฒนวิทย์ 🏺 4. แผ่นเซรามิกดักจับฝุ่น : Ceramic discs trap dust โดยทีมไอจามมาจากฝุ่น ไออุ่นมาจากลำปาง จากโรงเรียนบุญวาทย์วิทยาลัย 〰️ 5. คลื่นเสียงผจญเพลิง : Fire extinguisher by sound waves โดยทีม YRC Fight for fresh จากโรงเรียนยุพราชวิทยาลัย 🏢 6. การพัฒนาระบบระบายอากาศภายในห้องแรงดันบวก ณ หอพักแม่เหียะ : Development of Ventilation System in Positive Pressure Room at Maehia Dormitory of Chiang Mai University โดยทีม Pseudochiang mai จากโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 🧢 7. หมวกท้าหมอก : Pure Cap โดยทีม Pureposphere จากโรงเรียนสามัคคีวิทยาคม 🏫 8. ห้องเรียนฝุ่นน้อย : Little Dusty Classroom โดยทีม Breath SK จากโรงเรียนสันทรายวิทยาคม ☕ 9. กระดาษกรองกาแฟและชา ต้นทุนต่ำ ลดไขมัน : Low Cost - lesterol Dipper โดยทีม CDW Deadline Lover จากโรงเรียนเชียงดาววิทยาคม 🌽 10. เครื่องปล่อยประจุ ESP และกรองอากาศจากเส้นใยเปลือกข้าวโพด : ESP discharger and air filter from corn husk fibers โดยทีม Renatural absorb จากโรงเรียนแม่สายประสิทธิ์ศาสตร์ 🌾 11. นวัตกรรมมุ้งลวดปกติจากเส้นใยนาโนเซลลูโลสฟางข้าว : Innovative mosquito netting made from rice straw cellulose nanofibers โดยทีม ฝุ่นเต็มปอดเธอบอกสวดมนต์ จากโรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย เชียงราย #AcAir_ต้นกล้าท้าหมอกควัน2567 #AcAir_Smogathon
การถ่ายทอดสด... การประชุมวิชาการวิจัยและนวัตกรรมสร้างสรรค์ ครั้งที่ 10 "...สู่วิจัยรับใช้สังคม การขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมด้วยนวัตกรรม เพื่อการใช้ประโยชน์ในการพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืน” The 10th Conference on Research and Creative Innovations (CRCi 2024), RMUTL EXPO ครั้งที่ 1 ระหว่างวันที่ 5 - 6 สิงหาคม 2567 ณ เชียงใหม่ แกรนด์วิว โฮเต็ล แอนด์ คอนเวนชั่น เซ็นเตอร์ จังหวัดเชียงใหม่ ในนามตัวแทนมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ศูนย์วิชาการเพื่อสนับสนุนการแก้ไขปัญหาหมอกควันภาคเหนือ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้นำงานวิจัย การจำลองสถานการณ์การควบคุมแหล่งกำเนิดฝุ่นละอองขนาดเล็กPM2.5 เพื่อประเมินมาตราการการจัดการของจังหวัดเชียงใหม่ และนวัตกรรมระบบติดตามค่าฝุ่น PM2.5 และคุณภาพอากาศประเทศไทย และระบบตรวจDustBoy เครื่องวัดปริมาณฝุ่นละอองขนาดเล็กในอากาศด้วยระบบเซนเซอร์ รายงานสถานการณ์ฝุ่นแบบ Real Time ที่ติดตั้งทั่วประเทศ CCDC: Climate Change Data Center #AcAirข่าว #AcAirข่าว2567 #AcAirCMU #คณะทำงานด้านวิชาการเพื่อสนับสนุนการแก้ไขปัญหาหมอกควันภาคเหนือ #ศูนย์วิชาการเพื่อสนับสนุนการแก้ไขปัญหาหมอกควันภาคเหนือ #มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ #ESRC
📢ประชาสัมพันธ์ ทางสภาลมหายใจเชียงใหม่ ร่วมกับกองทุนพัฒนาสุขภาวะจังหวัดเชียงใหม่ที่ยั่งยืน 👉🏻 ขอเชิญชาวเชียงใหม่ร่วมขับเคลื่อนวาระเชียงใหม่ : วาระแก้ไขปัญหาฝุ่นควันเชียงใหม่ 🗓️ในวันที่ 30 กรกฎาคม 2567 🕤เวลา 13.00-16.30 น. 📍ณ จริงใจ มาร์เก็ต จ.เชียงใหม่ 🚩Location https://maps.app.goo.gl/Rj5T2pu1V 🚩รับชม Facebook Live ที่ @วาระเชียงใหม่ https://shorturl.at/auMX1 👉🏻ลงทะเบียนเข้าร่วมฟรี!!! https://forms.gle/rTHJtT7oLYinbLqJ7
ร่วมรับฟัง เวทีเสวนา “ความหวังประเทศไทย ทางออกแก้ฝุ่น: พระราชบัญญัติบริหารจัดการเพื่ออากาศสะอาด พ.ศ.... และการมีส่วนร่วมทุกภาคส่วน” วันอังคาร ที่ 23 กรกฎาคม 2567 เวลา 08.30-12.30 น. ณ โรงแรมเชียงใหม่แกรนด์วิว จังหวัดเชียงใหม่ . พบกับผู้เข้าร่วมเสวนา - คุณจักรพล ตั้งสุทธิธรรม ประธานคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพรบ.บริหารจัดการเพื่ออากาศสะอาด พ.ศ. ... - คุณทศพล เผื่อนอุดม รองผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ - คุณสุรีรัตน์ ตรีมรรคา รองประธานกรรมการอำนวยการสภาลมหายใจเชียงใหม่ - คุณกานต์ รามอินทรา Integrated Team Leader, UNDP ประเทศไทย - คุณณัฐพงศ์ โพธิ์วัฒนะชัย นักบริหารแผนงานชำนาญการ สสส. - ดร.บัณฑูร เศรษฐศิโรตม์ คณะกรรมการแก้ไขปัญหามลพิษทางอากาศอย่างยั่งยืน/กรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพรบ.บริหารจัดการ เพื่ออากาศสะอาด พ.ศ. ... ดำเนินรายการโดย - คุณบัณรส บัวคลี่ เครือข่ายสภาลมหายใจภาคเหนือ #AcAirCMU #คณะทำงานด้านวิชาการเพื่อสนับสนุนการแก้ไขปัญหาหมอกควันภาคเหนือ #ศูนย์วิชาการเพื่อสนับสนุนการแก้ไขปัญหาหมอกควันภาคเหนือ #มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ #สสส. #UNDP #สมาคมเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนภาคเหนือ #สถาบันธรรมรัฐเพื่อการพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อม #สภาลมหายใจ
📣 ประชาสัมพันธ์โครงการ 🌏 “ลดเปลี่ยนโลกกับโตโยต้า ปีที่ 2 - Carbon Neutral Society” 🌿 👉ขอเชิญชวนน้องๆนักเรียน นักศึกษาในระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย (สายสามัญ) และระดับอาชีวศึกษา (สายอาชีพ) มาประกวดนวัตกรรมระดับเยาวชนจากการคิดค้น สร้างสรรค์ และพัฒนาผลงานนนวัตกรรมนาโนเทคโนโลยีด้านลิ่งแวดล้อมเพื่อช่วยลดคาร์บอน (Carbon Neutrality 2050) . โดยความร่วมมือระหว่าง บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด สถาบันสิ่งแวดล้อมไทย หรือ TEI และศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ (นาโนเทค) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ซึ่งเป็นการประกวดนวัตกรรมเยาวชนด้านสิ่งแวดล้อมเพื่อช่วยลดคาร์บอน (Carbon neutrality 2050) โดยสามารถต่อยอดเป็นผลงานต้นแบบสู่การใช้ประโยชน์ และต่อยอดเป็นศูนย์การเรียนรู้ในชุมชน ได้อย่างมีประสิทธิภาพ . เปิดรับสมัครแล้วตั้งแต่วันนี้ – 30 มิถุนายน 2567 📍ลงทะเบียนสมัครเข้าร่วมโครงการตามภูมิภาคของตนเอง ได้ที่ https://www.lodplienlokproject.com หรือสแกน QR Code ดังแนบในโปสเตอร์นี้👇 . ℹ️ สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม : งานพัฒนาธุรกิจเชิงสังคม ศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ (นาโนเทค) สวทช. 02 564 7100 ต่อ 6610 (นริศา), 6680 (ดร.ปิยะวรรณ) Email : bitt-sbd@nanotec.or.th #ลดเปลี่ยนโลก #สวทช #TEI #Toyota
มช. อันดับที่ 75 ของโลก ครองอันดับที่ 1 ของประเทศ 4 ปีซ้อนด้าน SDG 13 Climate Action เมื่อวันที่ 12 มิถุนายน 2567 The Times Higher Education University Impact Rankings 2024 ประกาศผลการจัดอันดับมหาวิทยาลัยระดับโลกที่สร้างผลกระทบสูงต่อสังคมมีสถาบันอุดมศึกษาทั่วโลกเข้าร่วมการจัดอันดับทั้งสิ้น 2,152 แห่ง จาก 125 ประเทศ ทั้งนี้การจัดอันดับดังกล่าวใช้เกณฑ์การประเมินมหาวิทยาลัยตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนแห่งสหประชาชาติ หรือ United Nations (UN)’s ในปีนี้ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้รับการจัดอันดับที่ 75 ของโลก และเป็นอันดับที่ 3 ของประเทศไทย ทั้งนี้ด้าน SDG 13 Climate Action: การดำเนินการอย่างเร่งด่วนเพื่อแก้ปัญหาโลกร้อน ครองอันดับที่ 1 ของไทย 3 ปีติดต่อกัน เป็นอันดับที่ 101-200 ของโลก ทั้งนี้มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้รับการจัดอันดับจากรายการอื่นๆอีกมายมาย โดยในแผนพัฒนาการศึกษามหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ระยะที่ 13 มหาวิทยาลัยเชียงใหม่มีวิสัยทัศน์เป็น “มหาวิทยาลัยชั้นนำที่รับผิดชอบต่อสังคมและการพัฒนาที่ยั่งยืน ด้วยนวัตกรรม (A Leading University Committed to Social Responsibility for Sustainable Development through Innovation)” มีเป้าหมายวิสัยทัศน์ไปสู่การจัดอันดับมหาวิทยาลัยโลกตามแนวทางของ THE University Impact Rankings อยู่ใน 50 อันดับแรกของโลก และมหาวิทยาลัยได้มุ่งสู่การพัฒนาที่ยั่งยืนด้วย SDGs สนับสนุนการศึกษารูปแบบใหม่ ผลักดันการนำเทคโนโลยี มาพัฒนาการดำเนินงานต่าง ๆ เพื่อเป็นมหาวิทยาลัยแห่งนวัตกรรมต้นแบบเพื่อชุมชน และร่วมพัฒนาสังคมอย่างยั่งยืน อ่านข้อมูลเพิ่มเติม ขอบคุณข้อมูลจาก : https://ora.oou.cmu.ac.th/cmu-uir2024/?fbclid=IwZXh0bgNhZW0CMTAAAR1uB7QJCnXxqWuPYmXiUIOgQgNbtyTQ2akGUDNOSWX6AmvBSMba-txM9ww_aem_ZmFrZWR1bW15MTZieXRlcw
🔹ภาพบรรยากาศงานวันชาติสหรัฐอเมริกา ฉลองครบรอบ 248 ปี แห่งการประกาศอิสรภาพ (The 248 Anniversary of the Independence of the United State of America)🔹 เมื่อวันที่ 13 มิถุนายน 2567 ที่ผ่านมา คณะทำงานด้านวิชาการเพื่อสนับสนุนการแก้ไขปัญหาหมอกควันภาคเหนือ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ นำโดย รองศาสตราจารย์ ดร.สมพร จันทระ ประธานคณะทำงานฯ รองศาสตราจารย์ ดร.เศรษฐ์ สัมภัตตะกุล ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ชาคริต โชติอมรศักดิ์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ว่าน วิริยา และอาจารย์ ดร.ณัตติพร ยะบึง เข้าร่วมงานวันชาติสหรัฐอเมริกา ฉลองครบรอบ 248 ปี แห่งการประกาศอิสรภาพ (The 248 Anniversary of the Independence of the United State of America) ณ นิมมาน คอนเวนชั่น เซ็นเตอร์ โรงแรมยูนิมมาน จังหวัดเชียงใหม่ โดยมีคุณโรเบิร์ต เอฟ. โกเดค เอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกาประจำประเทศไทย และคุณลิสา เอ. บูเจนนาส กงสุลใหญ่สหรัฐอเมริกาประจำเชียงใหม่ กล่าวให้การต้อนรับ คณะทำงานฯ ดำเนินโครงการ “Building Air Quality Monitoring Capacity in Southeast Asia: AQSEA” ร่วมกับ Research Triangle Institute (RTI International) โดยได้รับการสนับสนุนงบประมาณจาก Department of State (DOS) ประเทศสหรัฐอเมริกา เพื่อให้ความรู้ให้แก่ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย และสร้างการรับรู้และเผยแพร่ต่อสาธารณะ รวมถึงการเพิ่มขีดความสามารถของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในระดับภูมิภาคในประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (SEA) #AcAirข่าว #AcAirข่าว2567 #AcAirCMU #คณะทำงานด้านวิชาการเพื่อสนับสนุนการแก้ไขปัญหาหมอกควันภาคเหนือ #ศูนย์วิชาการเพื่อสนับสนุนการแก้ไขปัญหาหมอกควันภาคเหนือ #มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ #ESRC
ภาพบรรยายในช่วงเวทีเสวนา หัวข้อ Climate Crisis and University Engagement: Case Study on PM2.5 โดย ผู้แทนจากมหาวิทยาลัยในภูมิภาค ภายในงานการประชุมวิชาการระดับชาติ Engagement Thailand ครั้งที่ 9 (The 9th Engagement Thailand Annual Conference 2024 Driving Society Engagement Innovation toward Sustainability) ในวันที่ 6 มิถุนายน 2567 เวลา 13.30 น.เป็นต้นไป โดยในเวทีเสวนาดังกล่าว มีผู้แทนจากมหาวิทยาลัยในภูมิภาค ซึ่งเข้าร่วมเป็นวิทยากรดังต่อไปนี้ • มหาวิทยาลัยเชียงใหม่(ภาคเหนือ) โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ชาคริต โชติอมรศักดิ์ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ • มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (ภาคกลาง) โดย รองศาสตราจารย์ ดร.วิษณุ อรรถวานิช คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ • มหาวิทยาลัยมหาสารคาม (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ) โดย อาจารย์ ดร.ธายุกร พระบำรุง คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม • มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (ภาคใต้) โดย ศาสตราจารย์ ดร.พีระพงศ์ ทีฆสกุล คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ผู้ดำเนินรายการ : รองศาสตราจารย์ ดร.สมพร จันทระ หัวหน้าศูนย์วิจัยวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม คณะวิทยาศาสตร์ และ ประธานคณะทำงานด้านวิชาการเพื่อสนับสนุนการแก้ไขปัญหาหมอกควัน ภาคเหนือ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ พร้อมทั้งการเข้าร่วมจัดนิทรรศการผลงานวิจัยและนวัตกรรมคณะทำงานด้านวิชาการเพื่อสนับสนุนการแก้ไขปัญหาหมอกควัน #AcAirศึกษาดูงาน #AcAirศึกษาดูงาน2567 #คณะทำงานด้านวิชาการเพื่อสนับสนุนการแก้ไขปัญหาหมอกควันภาคเหนือ #AcAirCMU #คณะทำงานด้านวิชาการเพื่อสนับสนุนการแก้ไขปัญหาหมอกควันภาคเหนือ #ศูนย์วิชาการเพื่อสนับสนุนการแก้ไขปัญหาหมอกควันภาคเหนือ #มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ Chiang Mai University Environmental Science Research Center #ESRC
คณะทำงานด้านวิชาการเพื่อสนับสนุนการแก้ไขปัญหาหมอกควันภาคเหนือ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และศูนย์วิจัยวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ Environmental Science Research Center #ESRC ให้การต้อนรับการมาเยือนและศึกษาดูงาน University of Queensland : MEKONG-AUSTRALIA PARTNERSHIP REGIONAL DIALOGUE: COOPERATION FOR CLEAN AIR IN THE MEKONG SUBREGION ในโครงการทัศนศึกษา Fieldtrip Program Air Pollution Research and Innovation: Monitoring, Analysis and Prevention เมื่อวันที่ 30 พฤษภาคม 2567 เวลา 13.00 น. เป็นต้นไปคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ คณะทำงานด้านวิชาการเพื่อสนับสนุนการแก้ไขปัญหาหมอกควันภาคเหนือ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ นำโดย รองศาสตราจารย์.ดร. สมพร จันทระ ประธานคณะทำงานฯ พร้อมทั้งคณะทำงานฯ ให้การต้อนรับการมาเยือนและศึกษาดูงาน University of Queensland : MEKONG-AUSTRALIA PARTNERSHIP REGIONAL DIALOGUE: COOPERATION FOR CLEAN AIR IN THE MEKONG SUBREGION พร้อมทั้ง คณะทำงานฯเป็นวิทยากรในงานดังกล่าว ประกอบด้วย Participants will be divided into 3 groups for the following activities: 1) Air quality monitoring station (โดย รองศาสตราจารย์.ดร. สมพร จันทระ ประธานคณะทำงานฯ และหัวหน้าศูนย์วิจัยวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่) - Sampling of PM2.5 and size-fractionated PM 2) Analysis of air pollution (โดย อาจารย์ ดร. ณัตติพร ยะบึง) - Analysis of volatile organic compounds (VOCs) by gas chromatography – mass spectrometry (GC-MS) - Analysis of carbon composition of PM samples by Carbon Analyzer 3) Innovation for monitoring and preventing air pollution (โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ว่าน วิริยา คณะทำงานฯ) - Low-cost sensors - DIY Air Purifier - Masks for Preventing PM2.5 และการศึกษาดูงานเยี่ยมชมผลงานวิจัยและนวัตกรรมคณะทำงานด้านวิชาการเพื่อสนับสนุนการแก้ไขปัญหาหมอกควัน พร้อมทั้งเยี่ยมชมสถานีตรวจวัดคุณภาพอากาศ ตลอดจนการเยี่ยมชมห้องปฏิบัติการวิจัย ของศูนย์วิจัยวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ #AcAirศึกษาดูงาน #AcAirศึกษาดูงาน2567 #คณะทำงานด้านวิชาการเพื่อสนับสนุนการแก้ไขปัญหาหมอกควันภาคเหนือ #AcAirCMU #คณะทำงานด้านวิชาการเพื่อสนับสนุนการแก้ไขปัญหาหมอกควันภาคเหนือ #ศูนย์วิชาการเพื่อสนับสนุนการแก้ไขปัญหาหมอกควันภาคเหนือ #มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ Chiang Mai University Environmental Science Research Center #ESRC