โครงการค่ายเยาวชน“ต้นกล้าท้าหมอกควัน”

มีจุดมุ่งหมายสำคัญเพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจและปลุกจิตสำนึกให้แก่เยาวชน ให้เห็นถึงความสำคัญของปัญหาและผลกระทบที่เกิดจากปัญหาหมอกควัน ตลอดจนเพื่อถ่ายทอดเทคโนโลยีการติดตามตรวจสอบมลพิษที่เกิดขึ้นแก่ตัวแทนครู และนักเรียน รวมทั้งสร้างโรงเรียนเครือข่ายในเขตจังหวัดภาคเหนือ เพื่อให้เยาวชนสามารถนำความรู้ไปประยุกต์ใช้และถ่ายทอดแก่ชุมชน เพื่อลดปัญหา การป้องกัน และแก้ไขปัญหาหมอกควันในพื้นที่ชุมชนของตนเอง จนนำไปสู่ผลลัพธ์คือ การแก้ปัญหาหมอกควันในชุมชนของตนเองได้อย่างยั่งยืน
โครงการที่ผ่านมา
ศูนย์วิชาการเพื่อสนับสนุนการแก้ไขปัญหาหมอกควันภาคเหนือ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้จัดโครงการต้นกล้าท้าหมอกควัน “สื่อสารต้านภัยฝุ่น” ประจำปี 2565
วัตถุประสงค์
ประกอบด้วยกิจกรรม 2 รอบ ได้แก่
รอบที่ 1 การอบรมเชิงบรรยาย ระหว่างวันที่ 18-19 พฤษภาคม 2565 รูปแบบ Online Workshop ประกอบด้วย
- การอบรมเชิงบรรยาย “การจัดการมลพิษทางอากาศ ภาคเหนือ”
- การอบรมเชิงบรรยาย “เทคนิคการสร้างสื่ออย่างง่าย”
รอบที่ 2 พิธีประกาศและมอบรางวัลการประกวดสร้างสรรค์สื่อวิดีโอ ในหัวข้อ “สื่อสารต้านภัยฝุ่น” ณ ห้องประชุมอินทนิล สำนักบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
รองศาสตราจารย์ ดร.สมพร จันทระ ประธานคณะทำงานด้านวิชาการเพื่อสนับสนุนการแก้ไขปัญหาหมอกควันภาคเหนือ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้ให้เกียรติเป็นประธานพิธีเปิดการแข่งขันโครงการต้นกล้าท้าหมอกควัน ประจำปี 2565 “สื่อสารต้านภัยฝุ่น” รวมถึงกล่าวต้อนรับและอวยพรแก่ผู้เข้าร่วมงานฯทุกท่าน ซึ่งกิจกรรมดังกล่าวมีผู้เข้าร่วมมากกว่า 100 คน ได้แก่ ผู้ทรงคุณวุฒิร่วมตัดสินผลงาน จำนวน 4 คน คุณครู จำนวน 12 คน นักเรียน 80 คน และองค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) จำนวน 5 คน โดยเป้าหมายของโครงการฯเน้นการขับเคลื่อน ผลักดันการสร้างเครือข่ายเยาวชนคนรุ่นใหม่ ให้เกิดความตระหนักรู้ และให้ความสำคัญต่อปัญหาหมอกควันในพื้นที่ภาคเหนือ เพื่อนำไปสู่การแก้ไขปัญหาหมอกควันและสามารถสร้างสื่อวิดีทัศน์ด้วยตนเองอย่างง่ายเพื่อให้ความรู้เกี่ยวกับมลพิษทางอากาศแก่สาธารณะ และเกิดความร่วมมือในการแก้ไขปัญหาดังกล่าวในอนาคตต่อไปอย่างยั่งยืน ณ NSP Rice Grain Auditorium อาคารอำนวยการอุทยานวิทยาศาสตร์ภาคเหนือ (จังหวัดเชียงใหม่)

:: ข่าวที่เกี่ยวข้อง ::

โครงการต้นกล้าท้าหมอกควัน ปี 2565 “สื่อสารต้านฝุ่น” (รอบที่ 1) การอบรมเชิงบรรยาย รูปแบบ Online Workshop
คณะทำงานด้านวิชาการเพื่อสนับสนุนการแก้ไขปัญหาหมอกควันในภาคเหนือ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จัดกิจกรรมการอบรมโครงการต้นกล้าท้าหมอกควัน “สื่อสารต้านฝุ่น” ประจำปี 2565 แก่เยาวชนในเขตพื้นที่ภาคเหนือ โดยมีผู้เข้าร่วมกิจกรรมมากกว่า 100 คน ผ่านระบบ Zoom Meeting

โครงการต้นกล้าท้าหมอกควัน ปี 2565 “สื่อสารต้านฝุ่น” (รอบที่ 2) พิธีประกาศและมอบรางวัลการประกวดสร้างสรรค์สื่อวิดีโอ ในหัวข้อ “สื่อสารต้านภัยฝุ่น”
ประธานคณะทำงานฯ ให้เกียรติเปิดพิธีการแข่งขันโครงการต้นกล้าท้าหมอกควัน ประจำปี 2565 “สื่อสารต้านภัยฝุ่น” โดยมีผู้เข้าร่วมงานฯมากกว่า 100 คน
ศูนย์วิชาการเพื่อสนับสนุนการแก้ไขปัญหาหมอกควันภาคเหนือ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้จัดโครงการต้นกล้าท้าหมอกควัน “สร้างสื่อสู้ฝุ่น” ประจำปี 2564 รอบที่ 1 ระหว่างวันที่ 17-18 ธันวาคม 2563 ในรูปแบบ Online Workshop เพื่อถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านมลพิษหมอกควันไฟป่าให้กับเยาวชน เพื่อให้จัดทำสื่อในการเผยแพร่องค์ความรู้และช่วยกระตุ้นให้เกิดความตระหนักและให้ความสำคัญต่อปัญหาหมอกควันของประชาชนและผู้เกี่ยวข้อง นำไปสู่การเฝ้าระวังและบรรเทาผลกระทบทางด้านสุขภาพที่เกิดจากปัญหาการเกิดหมอกควัน และร่วมกันสร้างคุณภาพอากาศที่ดีของชุมชนในพื้นที่ภาคเหนือต่อไป
วัตถุประสงค์

กิจกรรมแข่งขันการประกวดโปสเตอร์ inforgraphic “สร้าง สื่อ สู้ ฝุ่น”
ในโครงการรณรงค์ประชาสัมพันธ์ Chiang Mai Better Breathing 2021 “เชียงใหม่เพื่อลมหายใจที่ดีกว่า” วันที่ 19 – 21 มีนาคม 2564
ณ ลานกิจกรรม ชั้นที่ G หน้า IG Zone (ข้างลิฟท์แก้ว) ศูนย์การค้าเซ็นทรัลพลาซ่า เชียงใหม่ แอร์พอร์ต

รางวัลชนะเลิศ
และรางวัล Popular vote
นายภูริพัฒน์ บัวติ๊บ

งานโปสเตอร์ที่ผมได้ทำขึ้น เป็นสื่อที่สะท้อนถึงปัญหาในเรื่องของผลกระทบจากหมอกควันที่ส่งผลเสียต่อสุขภาพ เเละพฤติกรรมของมนุษย์ รวมทั้งผมยังได้พูดถึงวิธีการปฏิบัติตนในสถาณการณ์ดังกล่าว พร้อมกับดัชณีคุณภาพอากาศเพื่อให้ผู้อ่านสามารถเข้าใจได้ง่าย เเละสามารถนำความรู้ไปใช้ได้จริงครับ

รางวัลรองชนะเลิศ อันดับ 1
นายณัฐวัฒน์ แก้วกี

ผลงานชิ้นนี้ผู้ออกแบบมีแนวคิดที่จะสื่อให้เห็นถึงสาเหตุ ผลกระทบ และแนวทางป้องกันจากหมอกควันซึ่งเป็นมลพิษทางอากาศจากฝุ่นละอองขนาดเล็ก โดยแบ่งออกเป็น 3 ส่วนเพื่อให้ผู้ชมเข้าใจ และสามารถเชื่อมโยงผ่านข้อมูลและรูปภาพเพื่อให้ตระหนักในความสำคัญของปัญหาหมอกควัน/ฝุ่นควัน

รางวัลรองชนะเลิศ อันดับ 2
นายฐิติวัสส์ แซ่ควง
เนื่องจากในตอนนี้ได้มีp.m. 2.5 ระลอกใหม่มาอีกแล้ว ซึ่งส่งผลเสียกับพวกเราโดยตรงโดยเฉพาะชาวเชียงใหม่
ที่ติดAQIอันดับ1 ของโลก มีค่าดัชนีคุณภาพอากาศประมาณ 251 (8/3/64)มีสาเหตุมาจาก ปล่องควันโรงงาน
ท่อไอเสียรถ ไฟป่า และการที่เชียงใหม่มีภูมิประเทศเป็นแอ่งกระทะ ด้วยเหตุนี้ผมจึงอยากนำเสนอแนวทาง
การแก้ไขปัญหาฝุ่น p.m 2.5 โดยใช้ พีรามิดพิชิต p.m 2.5 ด้วยวิธีการดังนี้

นางสาวมัลลิกา จันทร์ใส
โลกน่าอยู่ได้ด้วยสองมือเรา เนื่องจากปัญหาของหมอกควันในปัจจุบันเกิดจากสาเหตุไฟป่าและการเผ่าขยะส่งผลต่อระบบทางเดินหายใจและดวงตา เราจึงควรช่วยกันดูแลและไม่เผาขยะ และภาครัฐควรมีมาตรการในการดูแลอย่างจริงจัง เพื่อให้โลกกลับมามีอากาศที่ดี ปลอดหมอกควัน ด้วยความร่วมมือจากทุกคนเพื่อให้โลกใบนี้กลับมาสดใสได้ดังเดิม

นางสาวปัทมพร ผัดเป้า
พื้นที่ป่าที่ถูกไฟไหม้เป็นจำนวนมาก มีอากาศบริสุทธิ์เพียงน้อยนิดที่เราสามารถได้รับจากห้องที่อากาศข้างนอกไม่สามารถเล็ดลอดเข้ามาได้ การเผาป่าเพื่อหาเห็ดถอบ ที่เป็นธรรมเนียมสืบมา กลับกลายเป็นมลพิษ และโรงงานอุตสาหกรรมที่ไม่เคยหยุดทำงาน กลายเป็นมรดกควันที่สืบกันมาแม้ไม่มีใครต้องการ

รางวัลชนะเลิศ
นายภาริทธิ์ อมรรัตนปัญญา

การตระหนักรู้อย่างเข้าใจถึงปัญหาอันเป็นภัยเงียบ จากฝุ่นขนาด PM 2.5 โปสเตอร์จะบอกถึงลักษณะบอกที่มาของฝุ่น PM 2.5 แนวทางการป้องกัน รวมถึงบอกอาการที่เกิดฝุ่น PM 2.5 เพราะฉะนั้นเราจะสามารถดูแลตนเองได้อย่างปลอดภัย และสามารถแบ่งปันความรู้ต่างๆ เพื่อเป็นประโยช์แก่บุคคลอื่นๆ

รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1
นายณัฏธ์ เต่าทอง
การออกแบบ เราได้หยิบยกคำในคลิปสัมภาษณ์ จากสภาลมหายใจของ นายแพทย์รังสฤษฎ์ กาญจนะวณิชย์ อาจารย์คณะแพทยศาสตร์ ภาควิชาอารุยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ที่กล่าวว่า “ทุก ๆค่า pm 2.5 ในบุหรี่เท่ากับ 22 µg./m3 ในทุก ๆวันนี้ค่าขึ้นไป 300-400 เท่ากับว่าเราสูบบุหรี่เป็นซองๆ” จากคำกล่างข้างต้น จึงนำมาเป็นออกแบบโปสเตอร์ อินโฟกราฟิก ที่แสดงการเปรียบเทียบที่สามารถเข้าถึงได้ง่ายแล้วทุกคนเข้าใจได้ว่าขนาดสูบบุหรี่ 1 มวน
ยังมีผลกระทบต่อคนเรามากแค่ไหน หมอกควันนั้นยิ่งกว่าการสูบบุหรี่แน่นอน แล้วการใช้สี เราเลือกสีเขียวในรูปปอด
คือ ที่ที่สะอาดที่กำลังจะถูกหมอกควันกลืนกินเข้าไป โดยใช้สัญลักษณ์บุหรี่แทนหมอกควันจำนวนมาก และพื้นที่ภาพภายนอก จะเป็นสีม่วงคือสีที่แทนสภาพหมอกควันขั้นรุนแรง ถ้าดูเข้าไปใกล้จะเห็นได้ว่ามีเทกเจอร์ละอองฝุ่นเล็ก ๆ
ที่เกือบมองไม่เห็นในพื้นที่รอบ ๆ

รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2
นายณัฐวุฒิ หมื่นชัย
รู้หรือไม่ว่าหมอกควันก่อให้เกิดภาวะเส้นเลือดในสมองตีบ เส้นเลือดหัวใจตีบปอดอักเสบ ระคายเคืองจมูกผื่นคัน แต่เราสามารถสู้กับมันได้ โดยการสวมหน้ากากกันฝุ่นหลีกเลี่ยงการออกที่โล่ง ล้างมือให้สะอาด ดื่มน้ำเยอะ ๆ และที่สำคัญร่วมกันรักษาสิ่งแวดล้อม

ต้องการสะท้อนให้เห็นในมุมมองของการเกิดหมอกควันและวิธีการแก้ไขปัญหา โดมีการนำเสนอสาเหตุของการเกิดหมอกควันใหญ่ๆเป็นหลัก เช่นการเผาป่าหรือการเผาทางการเกษตร การควบคุมการปล่อยมลพิษของโรงงานการปล่อยควันเสียของรถ เป็นต้น ซึ่งการแก้ไขปัญหาจะมีประกอบแทรกในแต่ละจุด

ต้องการสะท้อนให้เห็นในมุมมองของการเกิดหมอกควันและวิธีการแก้ไขปัญหา โดมีการนำเสนอสาเหตุของการเกิดหมอกควันใหญ่ๆเป็นหลัก เช่นการเผาป่าหรือการเผาทางการเกษตร การควบคุมการปล่อยมลพิษของโรงงานการปล่อยควันเสียของรถ เป็นต้น ซึ่งการแก้ไขปัญหาจะมีประกอบแทรกในแต่ละจุด